Tag Archives: การสืบค้นข้อมูล

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ของดียัง (พอ) มีฟรี

ฐานข้อมูลฟรี (Free Databases) ฐานข้อมูลฟรีที่ว่านี้บรรณารักษ์ขอแบ่งออกเป็น 1) สืบค้นฟรี แต่ไม่ได้ fulltext 2) สืบค้นฟรีและได้ Fulltext แบบแรกคือ สืบค้นฟรีแต่ไม่ได้ Fulltext ที่รู้จักกันมากๆ เช่น ScienceDirect คือเข้าไปค้นหา Reference ได้ แต่จะดึง fulltext ออกมาไม่ได้ ต้องเป็นสมาชิกหรือเสียค่าใช้จ่าย แบบที่สองคือ สืบค้นฟรีและได้ Fulltext เช่น PubMed, SpringerLink, HighWire Press เป็นต้น ฐานเหล่านี้จะเปิดให้ดึง Fulltext ได้บางรายการ ไม่ใช่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวารสารหรือแต่ละบทความ

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | 1 Comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นหา Open Access Journal ใน ScienceDirect

วารสารประเภท Open Access เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่น่าสนใจ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย หลายๆ สำนักพิมพ์ต่างก็เพิ่มทางเลือกให้กับนักวิจัยด้วยการเพิ่มวารสารประเภทนี้เข้าไปในฐานข้อมูล อย่างเช่น ScienceDirect ของ Elsevier ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในหมู่นักวิจัยชาวไทย ลองมาดูขั้นตอนง่ายๆ ในการค้นหาวารสาร OA กันดีกว่า เริ่มต้นเข้าไปที่เว็บไซต์ http://www.sciencedirect.com จากนั้นคลิกเลือกที่เมนู Journal ด้านบนสุดของหน้าจอ (1)

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้, E-Databases | Tagged , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นรูปภาพจาก ScienceDirect (template ใหม่ 2016)

จู่ๆ ฐานข้อมูล ScienceDirect เกิดนึกสนุกเปลี่ยนรูปโฉมตัวเองใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 มีการปรับตำแหน่งและรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์นิดหน่อย แต่ฟังก์ชั่นการทำงานส่วนใหญ่ยังคงเดิม ท่านผู้ใช้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไป วันนี้บรรณารักษ์จะขอหยิบฟังก์ชั่นการค้นหารูปภาพมาแนะนำ (อีกครั้ง) ฟังก์ชั่นค้นรูปภาพของ ScienceDirect มีมาพักใหญ่ๆ แล้ว บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ รูปแบบการค้นหาก็เหมือนกับการค้นผลงานวิจัย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนผลการสืบค้นเป็นรูปภาพของไฟล์มัลติมีเดีย ซึ่งจะได้มาจากตัวผลงานวิจัย ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า SD จะสร้างฐานข้อมูลรูปภาพให้ค้นหาเหมือน Search Engine ทั่วไป เริ่มต้นการใช้งานให้เลือกการค้นหาเป็นแบบ Advanced Search (1) จากนั้นเลือกที่ฟังก์ชั่นค้นหารูปภาพ Image (2) จะเห็นว่าหน้าตาไม่ได้ต่างไปจากการค้นผลงานวิจัยที่เราคุ้นเคยเลย เราก็กรอกคำค้นที่ต้องการลงไป (3)

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : Directory of Open Access Journals (DOAJ)

หลายท่านถูกอกถูกใจฐานข้อมูลที่เปิดให้ใช้ฟรี วันนี้มาแนะนำฐาน DOAJ : Directory of Open Access Journals เดิมทีเป็นแหล่งรวบรวมรายการวารสารประเภท Open Access พัฒนาขึ้นโดย Lund University, Sweden ดูจากชื่อว่า Directory คงพอจะเดาออก ต่อมาก็มีการพัฒนาให้สามารถค้นหาบทความได้ด้วย DOAJ จึงเป็นแหล่งสารสนเทศอีกแห่งหนึ่งที่น่าสนใจและได้รับการยอมรับ ปัจจุบันมีวารสารอยู่ในฐานราวหนึ่งหมื่นรายชื่อ และมีบทความมากกว่าสองล้านระเบียน DOAJ ครอบคลุมเกือบทุกสาขาวิชาจากหลากหลายสำนักพิมพ์ การค้นนั้นก็ไม่ยาก ใส่คำค้นที่ที่หน้าแรก สามารถเลือกได้ว่าจะค้นวารสารหรือค้นบทความ เมื่อได้ผลการสืบค้นก็สามารถกำหนดขอบเขตเพิ่มเติมได้ (เมนูจะอยู่ด้านซ้าย) หากต้องการเอกสารฉบับเต็มก็เลือกที่ไอคอน Full Text ที่ตัวบทความ เข้าไปลองใช้งานฐานข้อมูล DOAJ ได้ที่ https://doaj.org/ บันทึกโดย … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : โหลดฟรีใน PubMed

สำหรับห้องสมุดที่ไม่ได้สังกัดสถาบันการศึกษา หรือไม่มีงบประมาณเพียงพอในการบอกรับฐานข้อมูล เดี๋ยวนี้มีแหล่งสารสนเทศที่ให้ฟรีมากมาย แต่ต้องพิจารณาให้ดีก่อนว่าเนื้อหาถูกต้องหรือน่าเชื่อถือเพียงใด บรรณารักษ์ยกตัวอย่างฐานข้อมูล PubMed มาให้ลองใช้กัน เป็นแหล่งสารสนเทศงานวิจัยด้านการแพทย์ สาธารณสุข และสาขาอื่นๆ จัดเป็นฐานข้อมูลสากล เชื่อถือได้แน่นอน ถ้าใครทำวิจัยด้านการแพทย์ หรือคุณหมอท่านใดที่สนใจะอยากจะศึกษาเพิ่มเติมก็ลองเข้ามาค้นคว้ากันได้ ใน PubMed มีฟังก์ชั่นสำหรับงานวิจัยที่ให้ฟรี หลังจากใส่คำค้นแล้วที่เมนูด้านซ้ายมือจะมีคำสั่งให้เลือก Free Full Text ระบบจะคัดเลือกเฉพาะผลงานที่อนุญาตให้โหลดฟรี โดยสังเกตที่ท้ายบทความจะมีสัญลักษณ์ Free Article เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการค้นหาผลงานวิชาการ แต่ถ้าใครใช้งาน PubMed ในสถาบันการศึกษาที่บอกรับฐานข้อมูลอื่นๆ ด้วย ก็อาจจะไม่ต้องใช้คำสั่งนี้ก็ได้ เข้าใช้งาน PubMed ได้ที่ http://www.Pubmed.gov บันทึกโดย นายอภิชัย อารยะเจริญชัย บรรณารักษ์ ห้องสมุดสตางค์ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , | Leave a comment

Chemspider ..Free Database โครงสร้างเคมี

บรรณารักษ์มีฐานข้อมูล Free มาให้ลองใช้กัน เหมาะสำหรับชาวเคมีครับ เป็นฐานข้อมูลโครงสร้างทางเคมีที่พัฒนาขึ้นโดย Royal Society of Chemical : RSC ใครที่เคยลองใช้ SciFinder แล้วยังรู้สึกสับสนหรือใช้ไม่สะดวก หรือยังไม่ได้ลงทะเบียน (SciFinder จะต้องลงทะเบียนก่อนใช้โดยใช้ได้เฉพาะชาวมหิดลเท่านั้น) แต่อยาจะหาโครงสร้างเคมีแบบเร่งด่วน ก็ลองเข้ามาใช้ Chemspider กันได้ครับ รูปแบบของ Chemspider ก็ไม่ต่างจากฐานข้อมูลวิชาการทั่วๆ ไป คือสืบค้นจากคำค้นต่างๆ (Keyword) แต่สำหรับ Chemspider ที่เน้นทางด้านเคมีจึงอาจจะใช้คำค้นที่เฉพาะทางสักหน่อย ซึ่งสามารถใช้ชื่อสารเคมีที่เป็นชื่อวิทยาศาสตร์หรือชื่อสามัญ หรือชื่อทางการค้าก็ค้นเจอเหมือนกัน และยังสามารถวาดสูตรโครงสร้างทางเคมีเพื่อค้นหาได้เหมือน SciFinder อีกด้วย

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | Leave a comment

ScienceDirect ปรับโฉมใหม่

ScienceDirect เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ ดูเรียบ โล่ง แต่ดูดีและครบถ้วนเรื่องข้อมูลที่จำเป็นเช่นเดิม มาไล่ดูกันว่าหน้าตาใหม่ของ SD เป็นอย่างไร และอะไรอยู่ตรงไหน A – ฟังก์ชั่นค้นหา สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วด้วยการใส่คำค้นที่ต้องการในช่อง Search all fields หรือระบุ Reference ที่มีเพื่อค้นหาให้เจาะจงยิ่งขึ้น ถ้าต้องการค้นหาแบบละเอียดก็เลือกที่ Advanced search สามารถระบุคำค้นและข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม และเลือกได้ว่าต้องการค้นจากวารสาร หนังสือ หรือค้นหารูปภาพ B – Browse publications by subject เลือกหาวารสาร/หนังสือ ที่มีในฐาน SD แบ่งตาม Subject ซึ่งบางชื่อสามารถมีได้หลาย Subject … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

เราค้นหาผลงานวิจัย (ฉบับเต็ม) จาก Google ได้จริงไหม?

ห้องสมุดสถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างบอกรับฐานข้อมูลวิชาการ วารสารหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย บางสถาบันมีฐานข้อมูลมากมายให้เลือกใช้ทั้งที่บอกรับและที่เป็น Open Access แต่ก็มากเสียจนผู้ใช้เองเริ่มงงว่าแล้วฉันควรจะใช้ฐานข้อมูลไหนดี ไปๆ มาๆ ก็เลยหันไปพึ่งเพื่อนผู้รอบรู้อย่าง Google เว็บ Search Engine ยอดนิยม เพราะเชื่อว่าค้นใน Google แล้ว หาอะไรก็เจอ จากคำถามที่ว่าเราสามารถค้นหาบทความฉบับเต็มจาก Google ได้ไหม ตอบว่าได้จริงครับ แต่จะโหลดได้ไหมนั้นตอบว่าไม่ทราบ คำตอบนี้สำหรับคำถามที่ว่าด้วยการโหลดบทความฉบับเต็มนะครับ (Full Text) เพราะบางท่านอาจต้องการเพียงแค่ Abstract ก็ได้ ลองมาดูคำเฉลยกันดีกว่าครับ ยกตัวอย่างว่าเราลองค้นหางานวิจัยสักหัวข้อหนึ่งจาก Google ได้ผลลัพธ์ตามรูปที่ 1 จะเห็นว่า Google เลือกที่จะจัดอันดับโดยเอาผลลัพธ์ที่ได้จากฐานข้อมูลวิชาการหรือสำนักพิมพ์ มานำเสนอ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment