Tag Archives: ภาพยนตร์

บรรณารักษ์ชวนดู: ๑๐ สุดยอดหนังไซไฟที่ควรดู (ตอนจบ)

คราวก่อนบรรณารักษ์แนะนำหนังไซไฟขึ้นหิ้งที่เราควรจะหามาดูซักครั้งไปแล้ว ๕ อันดับ คราวนี้มาอีก ๕ อันดับที่เหลือกันเลยครับ ๖. Blade Runner (๑๙๘๒) ในปี ๒๐๑๙ (ก็อีกไม่กี่ปีล่ะสิ) โลกจะมีการผลิตมนุษย์เทียมขึ้นเพื่อใช้ให้ทำงานที่เสี่ยงอันตราย แต่มนุษย์เทียมพวกนี้กลับแหกกฎด้วยการเข้ามาอาศัยปะปนกับมนุษย์ จึงต้องมีหน่วยปราบปรามมนุษย์เทียมขึ้น  พระเอกของเราก็คือ ริค (แฮร์ริสัน ฟอร์ด สมัยยังหนุ่มฟ้อ) ต้องทำหน้าที่ไล่ล่ามนุษย์เทียมพวกนี้ แต่เขากลับเริ่มตั้งคำถามและพยายามหาคำตอบของความหมายในการมีชีวิต หนังวาดภาพการสร้างมนุษย์เทียมไว้อย่างเหลือเชื่อ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีก็ก้าวหน้าแม้จะยังไม่ใกล้เคียงกับที่จินตนาการ แต่ก็เป็นเป็นได้ว่าในอนาคตมนุษย์เทียมอาจจะมีขึ้นมาจริงๆ ก็ได้ นอกจากนี้หนังยังสอดแทรกประเด็นทางสังคมเกี่ยวกับชนชั้นและสิทธิขั้นพื้นฐานของพลเมืองอีกด้วย ๗. Alien (๑๙๗๙) จุดเริ่มต้นของหนังชุดเอเลี่ยนที่สร้างกันมาถึงสี่ภาค เมื่อยานขนส่งสินค้าลำหนึ่งต้องลงจอดฉุกเฉินบนดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง แต่แล้วกลับมีสิ่งมีชีวิตปริศนาที่เล็ดรอดขึ้นมาบนยาน พร้อมกับการตายอย่างสยดสยองของลูกเรือทีละคนๆ จนเหลือเพียง เอลเลน ริปลี่ย์ (ซิกอร์นี่ย์ วีเวอร์) … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนดู: ๑๐ สุดยอดหนังไซไฟที่ควรดู (ตอนแรก)

หนังแนววิทยาศาสตร์หรือ SciFi (Science Fiction) เป็นหนังอีกแนวหนึ่งที่ได้ถูกหยิบยกขึ้นมาสร้างอยู่บ่อยครั้ง แต่ก็มีข้อแม้อยู่เหมือนกัน เพราะถ้าคนสร้างมือไม่ถึงล่ะก็ หนังจะออกมาน่าเบื่อและชวนลุกหนี เหมือนอย่างที่ครั้งหนึ่ง The Battlefield Earth ทำให้ชื่อของ จอห์น ทราโวลต้า กลับไปจมอยู่ก้นบ่ออีกครั้ง หรือบางครั้งที่ผู้สร้างมัวแต่ไปสนใจเรื่องเอฟเฟคจนละเลยบทหนัง ก็ทำให้หนังดูไม่น่าเชื่อถือ ขาดหลักเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ จนเจ๊งมาแล้วหลายเรื่อง เหนืออื่นใดเลยต้องไม่ลืมว่า นักวิทยาศาสตร์เขาก็ดูหนังเหมือนกันนะ ดังนั้นการสร้างหนังที่ไร้เหตุผลหรือสักแต่ว่าสร้างขึ้นมาโดยปราศจากการศึกษาให้ละเอียด ก็มักจะกลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์ เพราะอาจทำให้ผู้คนเข้าใจผิดได้ในบางเรื่อง แม้ว่าจุดประสงค์หลักของการดูหนังจะเพื่อความบันเทิงก็ตาม แต่อย่างน้อยก็น่าจะมีหลักเกณฑ์หรือแทรกประเด็นสาระลงไปบ้างสักหน่อย มีสถาบันการศึกษาหลายแห่งที่หยิบเอาหนังเหล่านี้มาเป็นเครื่องมือประกอบการเรียนการสอน นอกจากจะทำให้นักเรียน นักศึกษาสนใจแล้ว ยังสามารถหยิบเอาประเด็นต่างๆ ในหนังมาถกเถียงอภิปรายกันในเชิงวิชาการได้อย่างออกรสและไม่น่าเบื่อ ซึ่งบรรณารักษ์คิดว่าเป็นแนวคิดที่ไม่เลวเลยทีเดียว บรรณารักษ์จึงขอหยิบเอาสุดยอดหนังวิทยาศาสตร์ ๑๐ เรื่อง ที่คัดแล้วว่ายอดเยี่ยมที่สุด จากการคัดเลือกโดยสถาบันภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (American Film … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน : หม้อแกงลิง (เรียนรู้ภาษาอังกฤษในหนัง)

นาทีนี้หันไปทางไหนก็มักจะได้ยินได้เห็นกิจกรรมส่งเสริมการยกระดับคุณภาพคนไทย เพื่อรองรับการเข้าเป็น ประชาคมอาเซียน เคยนึกสงสัยว่าบางทีไม่ใช่แค่ประเทศเราหรอก ประเทศไหนๆ ก็เหมือนกันหมด คือมักจะกระตือรือร้นกันช่วงเข้าด้ายเข้าเข็ม เป็นเจ้าภาพแข่งกีฬาก็ต้องรอสีสนามแห้งจนวินาทีสุดท้าย การเป็นประชาคมอาเซียนก็ตกปากรับคำกันมาตั้งแต่ปีมะโว้ แต่เหตุใดถึงเพิ่มจะมาตื่นต้วเอาอีกตอนเหลืออีก ๒ ปีก็ไม่รู้ได้ อย่างหนึ่งที่รณรงค์กันจังคือการส่งเสริมให้คนไทยหันมาใช้ภาษาอังกฤษกันมากขึ้น คงเป็นเพราะภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลใช้กันทั่วโลก แอบน้อยใจเล็กๆ ว่าภาษาไทยก็มีความเป็นมายาวนาน ทำไมไม่สากลบ้างนะ สรุปว่าคนไทยก็ต้องหมั่นฝึกฝนใช้ภาษาอังกฤษสำหรับการสื่อสารกันให้มาก ข่าวเมื่อไม่นานมานี้ก็ระบุว่าความสามารถในการใช้ภาษาของคนไทยอยู่ในภูมิภาคอาเซียนอยู่อันดับเกือบโหล่ ก็ยิ่งต้องเร่งผลักดันกันมากขึ้น บรรณารักษ์เองก็ไม่ได้เก่งกาจภาษาอังกฤษสักเท่าไหร่ ออกจะเป็นไม่เบื่อไม้เมากันด้วยซ้ำ อาศัยหน้ามึนและกล้าไว้ก่อน ถ้าฝรั่งเขาเข้าใจว่าเราสื่ออะไรไปนั่นก็จบครับ ไม่ต้องไปสนใจความถูกต้องของไวยากรณ์หรือคำศัพท์ ฝึกเข้าเยอะๆ ก็จะชำนาญเอง อันนี้เป็นเคล็ดที่กูรูทั้งหลายสอนสั่งกันมา ซึ่งก็ใช้ได้จริงนะครับ เมื่อวานนี้เองบรรณารักษ์เปิดดูคลิปรายการหนึ่งในยูทูป เขาตั้งวงสนทนาเรื่องภาษาอังกฤษกับคนไทย มี “ครูเคท” กับ “คุณคริสโตเฟอร์ ไรท์” ร่วมสนทนา เคล็ดอย่างหนึ่งที่ทั้งสองท่านแนะนำคือการชมภาพยนตร์ที่เป็นเสียงภาษาอังกฤษ ฟังบ่อยๆ พูดตามบ่อยๆ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนดู : Shine บทเพลงบรรเลงชีวิตคน (บ้า)

ว่ากันว่า อัจฉริยะกับความบ้า ห่างกันเพียงกระดาษแผ่นเดียว ซึ่งสำหรับ เดวิด เฮลฟ์ก็อตต์ กระดาษแผ่นนั้นคงจะต้องบางเอามากๆ บรรณารักษ์เคยแนะนำภาพยนตร์หรือหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของ “อัจฉริยะ” ที่มีพฤติกรรมแปลกๆ ไปแล้วอย่างเช่น จอห์น แนช หรือ พอล แอร์ดิช คราวนี้จะขอแนะนำอัจฉริยะแห่งวงการดนตรีคลาสสิกที่ชีวิตของเขาก็เพี้ยนได้ใจอีกเหมือนกัน เดวิด เฮลฟ์ก็อตต์ (David Helfgott ช่างบังเอิญเหลือเกินที่ดันไปพ้องเสียงกับ Help God) เป็นนักเปียโนขั้นเทพชาวออสซี่ แววอัจฉริยะของเขาเริ่มต้นตั้งแต่ยังเด็ก จนล่วงเข้าสู่วัยรุ่นเขาก็กวาดรางวัลระดับประเทศได้ถึง ๖ สมัย (ABC Instrumental and Vocal Competition) แต่แล้วโชคชะตาก็เล่นตลก เขาป่วยเป็นโรคจิตเภทที่เรียกว่า Schizoaffective Disorder เดวิดต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า ๑๒ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนดู : The Professor and His Beloved Equation

เคยมีคนกล่าวไว้ว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ จำเป็นต้องมีพื้นฐาน “คณิตศาสตร์” แม้ว่ามันจะเป็นศาสตร์แขนงเดียวกันก็ตาม แต่มันก็เป็นพื้นฐานของพื้นฐานที่สำคัญสำหรับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ (อันนี้บรรณารักษ์คิดเอง) แต่ก็ยังมีคนอีกมากที่ตั้งหน้าตั้งตาศึกษาคณิตศาสตร์อย่างถึงแก่นจนเลยความเป็นพื้นฐานไปไกลลิบ ซึ่งสำหรับบรรณารักษ์แล้วคงจะเรียนแบบนั้นไม่ไหวแน่นอน เพราะคณิตศาสตร์ของบรรณารักษ์นั้นคงไปไกลไม่เกินบวกลบเลขในชีวิตประจำวัน เคยสงสัยกันไหมครับว่าใครกันที่คิดค้นเจ้าสูตรคำนวณอะไรไม่รู้มากมาย รากเอย ตรีโกณเอย พายเอย แคลคูลัสเอย และตัวประหลาดอะไรอีกสารพัดที่ดูเหมือนภาษาต่างดาวซึ่งคงจะมีแต่พวกเขาเท่านั้นที่เข้าใจ ตอนเด็กๆ บรรณารักษ์จำได้ว่างงเหลือแสนที่ทำไมวิชาเลขถึงได้มี x y เข้ามาปนด้วย แม้ตอนนี้ก็ยังสงสัยว่าเราจะคำนวณค่าอะไรกันมากมายโดยที่บางครั้งคิดว่ามันอาจเป็นเพียงเกมสนุกๆ สำหรับนักวิชาการพวกนี้ แท้จริงแล้วเป็นเพราะเราไม่เข้าใจถึงศาสตร์เหล่านี้ต่างหาก บรรณารักษ์เชื่อว่าศาสตร์ทุกแขนง ความรู้ทุกสาขาล้วนมีประโยชน์ มีความจำเป็น และมีเหตุผลบางอย่างที่ก่อให้เกิดมันขึ้นมา ประโยชน์ของมันไม่ใช่จะเห็นในวันในพรุ่ง ไม่ใช่จะจับต้องได้เหมือนข้าวที่เราต้องกินทุกวัน หากแต่มันวิ่งวนอยู่รอบๆ ตัวเรานี่แหละ มันกลายมาเป็นสิ่งโน้นสิ่งนี้เพื่อให้เราใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุข ฉะนั้น ทุกศาสตร์จึงล้วนมีความสำคัญ ขณะที่ใครซึ่งมองว่ามันไม่สำคัญ อาจเป็นเพราะเขายังไม่เข้าใจ ความไม่เข้าใจและเปิดใจรับ ไม่เพียงแต่ทำให้เรามึนงงและปฏิเสธศาสตร์ต่างๆ (อย่างคณิตศาสตร์ เคมี ฟิสิกส์ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู, ภาพยนตร์ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนดู : A Beautiful Mind

วันนี้บรรณารักษ์ขอเสนอภาพยนตร์ที่ว่าด้วยชีวิตของนักคณิตศาสตร์ระดับรางวัลโนเบล ความสามารถของเขานั้นนับว่าเป็นอัจฉริยะทีเดียว แต่ขณะเดียวกันเขาก็ต้องทนทุกข์ทรมานด้วยอาการป่วยทางจิต กว่าจะผ่านช่วงชีวิตที่เลวร้ายมาได้ก็ต้องใช้เวลานานกว่า ๒๕ ปี ว่ากันว่าแม้กระทั่งวันที่เขาขึ้นรับรางวัลโนเบล อาการเหล่านั้นก็ยังไม่ได้หายขาดด้วยซ้ำ บรรณารักษ์เชื่อว่าหลายท่านคงเคยชมภาพยนตร์เรื่องนี้กันไปแล้ว ยิ่งถ้าเป็นนักวิทยาศาสตร์ก็ยิ่งไม่น่าพลาด A Beautiful Mind ผลงานการกำกับของ รอน ฮาวเวิร์ด ที่มีผลงานการกำกับหลากหลายแนว อาทิ หนังรักเบาสมอง Splash หนังแฟนตาซีย้อนยุค Willow หนังแอ็คชั่นเกี่ยวกับนักผจญเพลิง Backdraft หนังที่สร้างจากเรื่องจริงอย่าง Apollo 13 จนกระทั่งประสบความสำเร็จกับรางวัลผู้กำกับยอดเยี่ยมจาก A Beautiful Mind ในปี ๒๐๐๑ นี่เอง โดยเป็นงานที่ดัดแปลงจากหนังสือชื่อเดียวกันนี้ ซึ่งเป็นชีวประวัติของ จอห์น ฟอบส์ แนช จูเนียร์ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู, ภาพยนตร์ | Tagged , , , , , , | 2 Comments

บรรณารักษ์ชวนดู : ห้องสมุดในหนัง

บรรณารักษ์ กับ ห้องสมุด หากพูดถึงสองคำนี้ ไม่ว่าใครก็คงจะนึกถึงอะไรที่มันคร่ำครึ เจ้าระเบียบ และน่าเบื่อ แม้ว่าเทคโนโลยีห้องสมุดจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่ภาพลักษณ์ของห้องสมุดหรือคนที่ทำงานในห้องสมุด ก็ยังคงถูกมองด้วยภาพลักษณ์เดิมๆ ไม่เปลี่ยน ในภาพยนตร์หลายเรื่องก็หยิบยกเอาเรื่องราวของห้องสมุดหรือไม่ก็ใช้ห้องสมุดเป็นฉากหลังอยู่หลายเรื่อง บรรณารักษ์ก็เลยขอยกมาแนะนำให้ลองไปดูกันเพลินๆ … Heartbreak Library (๑๙๘ รหัสรักปาฏิหาริย์) อุนซู บรรณารักษ์สาว (สวย) ที่เพิ่งอกหักมาหมาดๆ ต้องมาเจอกับ จุนโอ ผู้ใช้ห้องสมุดเป็นชายหนุ่มท่าทางแปลกๆ จุนโอไม่ได้เข้ามาอ่านหนังสือเปล่าๆ แต่ดันมาฉีกหนังสือหน้า ๑๙๘ ทุกเล่มที่มีในห้องสมุด งานนี้บรรณารักษ์อย่างอุนซูจะยอมได้ยังไง แต่ไปๆ มาๆ ทั้งคู่กลับค่อยๆ สนิทกันทีละนิด จนเกิดเป็นเรื่องราวลึกซึ้ง ที่มาที่ไปก็คือนายจุนโอถูกแฟนทิ้งไปโดยเหลือไว้เพียงโน้ตสั้นๆ ว่า “ดูที่หน้าที่ ๑๙๘” เอาล่ะสิ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู, ภาพยนตร์ | Tagged , , | 1 Comment

บรรณารักษ์ชวนดู : The Daybreakers … ถ้ามนุษย์กินกันเอง

จะเกิดอะไรขึ้น ถ้าอนาคตทุกคนบนโลกเป็นแวมไพร์กันหมด !? … วันนี้บรรณารักษ์ไม่ได้กะจะมาดูดเลือดใครหรอกครับ แค่อยากจะแนะนำหนังตระกูลแวมไพร์ที่ดูแหวกแนวกว่าเรื่องอื่นๆ เมื่อมีโจทย์ว่าถ้าอนาคต ทุกคนเป็นแวมไพร์กันหมด แล้วโลกจะเป็นอย่างไร แล้วเราจะหาอาหาร (เลือด) ที่ไหนมากินกันล่ะทีนี้ นี่คือที่มาของหนังไซไฟตระกูลแวมไพร์เรื่อง “The Daybreakers” หนังแวมไพร์ทั่วๆ ไป ก็มักจะมาในแนวบู๊ล้างผลาญ ฆ่ากันเลือดสาด หรือว่าด้วยการแพร่กระจายเชื้อที่ทำให้คนกลายเป็นผีดูดเลือด แต่ใน The Daybreakers นั้นเล่าข้ามไปถึงตอนที่มนุษย์เกือบ ๙๙% กลายเป็นแวมไพร์กันหมดแล้ว แต่ทุกคนก็ยังคงใช้ชีวิตตามปกติ ยังต้องทำงานหาเงิน ยังต้องจับจ่ายซื้อของ ต้องการเครื่องอำนวยความสะดวก ยังต้องกิน และยังต้องทำอะไรอื่นๆ อีกเหมือนเมื่อครั้งยังเป็นมนุษย์ปกติ เพียงแต่กิจกรรมทั้งหลายจะทำในตอนกลางคืน เพื่อป้องกันตนเองจากแสงอาทิตย์ ดังนั้นตอนกลางวันจึงเป็นเวลาที่ทุกคนจะหลบอยู่ในบ้าน จะออกไปมาไหรก็ต้องหลบแสงแดด รถยนต์ก็จะต้องมีระบบป้องกันแสง ชีวิตของผู้คนดำเนินกันไปตามปกติ แต่ปัญหาเกิดขึ้นเมื่อทุกคนเป็นแวมไพร์กันหมด … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนดู, ภาพยนตร์ | Tagged , , , | Leave a comment