Tag Archives: การอ่านหนังสือ

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: ชุดประดาน้ำและผีเสื้อ

บรรณารักษ์ชวนอ่าน ฌ็อง-โดมินิก โบบี้. (๒๕๕๕). ชุดประดาน้ำและผื้เสื้อ. แปลจาก Le scaphandre et le papillon. โดย วัลยา วิวัฒน์ศร. กรุงเทพ : ผีเสื้อ. Call Number: รส บ919ช 2555 เพื่อนนักอ่านเคยอ่านหนังสือ “ชุดประดาน้ำและผีเสื้อ” บ้างไหม จินตนาการล้นเหลือของผู้เขียนทำให้เราเพลินเพลิดไปกับตัวหนังสือที่ล่องลอยอิสระเหมือนผีเสื้อ หลายท่านคงทราบถึงความพิเศษของหนังสือเล่มนี้ และหลายท่านอาจทราบเมื่ออ่านเรื่องราวของผู้เขียนในหนังสือเล่มนี้ เพราะเขาใช้ตาข้างซ้ายเขียน ! Jean Dominique Bauby เขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้นเมื่ออายุ ๔๔ ปี เขาเป็นบรรณาธิการบริหารนิตยสาร ELLE ที่นครปารีส ประเทศฝรั่งเศส … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: อ่านเถิดชาวไทย

กนกพรรณ เหตระกูล. (2555). อ่านเถิดชาวไทย. กรุงเทพ : แพรวสำนักพิมพ์. (206 หน้า) Call No. Z1003 อ623 2555 ในยุคสมัยที่นักวิชาการไทยต่างกังวลว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อย ก็มีประเด็นที่เปิดขึ้นมาอีกว่า อ่านน้อยอ่านมากไม่สำคัญว่าอ่านอะไร บ้างก็ว่า อ่านน้อยโอกาสก็น้อยตาม หรืออะไรก็ตามแต่ที่ใครต่อใครพยายามบอกเล่าแนวคิดของตนเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ซึ่งบรรณารักษ์สงสัยว่า ตกลงจุดหมายมันคืออะไรกันแน่ บางท่านมองว่าอ่านอะไรนั้นสำคัญกว่า บ้างก็ว่าปริมาณก็สำคัญไม่ต่างกัน บรรณารักษ์มองว่าปล่อยไปตามธรรมชาติเถอะ ใครอ่านใครก็ได้ของเขาเอง ถ้าการอ่านหนังสือมันต้องถึงขั้นรณรงค์ หรือบังคับขืนใจให้อ่าน (ทั้งที่ไม่อยากอ่าน) มันก็ออกจะเกินไปหน่อย ถ้ามันดีจริงเขาก็อ่านเอง เพียงแค่มันอาจจะยังไม่ถึงเวลาเท่านั้น

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

“ถ้าเกิดไฟไหม้ไม่ต้องเก็บเครื่องเพชร ให้เก็บหนังสือก่อน”

แต่ไหนแต่ไรมา บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยหากว่ากันตามจริงนับว่าเป็นรองผู้ชายอยู่มากโข ยิ่งกับเรื่องการศึกษาเล่าเรียนด้วยแล้ว ยากนักที่จะมีโอกาสได้เรียนเขียนอ่านเหมือนผู้ชาย แม้จะเป็นเจ้านายฝ่ายในก็ยังไม่ได้รับโอกาสเท่าใดนัก ประเทศสยามในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดประเทศเพื่อคบค้ากับชาวต่างชาติมากขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศสยามเป็นอารยะ ประชาชนต่างตื่นตัวรับวัฒนธรรมและวิทยาการของชาติตะวันตก รวมถึงค่านิยมในการให้บุตรหลานได้เล่าเรียนหนังสือมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ ถึงอย่างนั้นก็ยังติดธรรมเนียมบางประการที่ทำให้สตรีไม่อาจได้รับการศึกษาเทียบเท่าบุรุษ

Posted in การอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: ๑๐๐ เอกสารสำคัญ สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย

สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย “ความสำคัญของรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในประวัติศาสตร์ไทย” ผ่านไปแล้วสำหรับการเปิดให้เข้าชมภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” แบบฟรีๆ กันถึง ๑๖๐ โรงทั่วประเทศ คำนวนคร่าวๆ ก็น่ามีคนไทยได้เข้าชมกว่าห้าหมื่นคน เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะดีหรือลบนั้นก็สุดแท้แต่ใครจะมอง คิดเสียว่าอย่างน้อยก็พอจะให้คนไทยจำนวนหนึ่งได้สนุกสนานไปกับภาพยนตร์ แต่ที่สะกิดใจผมนิดหน่อยคือการที่หลายคนอาจแยกแยะไม่แตกระหว่างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงกับความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , , , | 1 Comment

กังวลกันไปทำไมกับสถิติการอ่านของคนไทย

*ข้อเขียนมีทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนด้วย ผลสำรวจการอ่านหนังสือของคนไทย พ.ศ. 2556 คลอดออกมาแล้ว เท่าที่เห็นตามสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่จะร่วมกันเฮยกใหญ่ว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น จากที่ประชดประชันกันมาเนิ่นนานว่าคนไทยอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด ทุกสื่อต่างพากันชื่นชมว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นเป็นเฉลี่ยวันละ 37 นาที ไม่รู้จะร่วมชื่นชมกันดีไหมนะครับ กับตัวเลขที่ไม่รู้ว่าจะพาดหัวกันให้ได้อายไปทำไม เอาล่ะ อย่างน้อยมันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

Posted in หนังสือ | Tagged , , , , , | 2 Comments

อ่านเถิดจะเกิดผล: อ่านเพราะถูกทำโทษ

แม้ว่าอเมริกาจะได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งโอกาสและความเท่าเทียม แต่ย้อยไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว สังคมอเมริกันยังมีการกีดกันเรื่องสีผิวอยู่ทั่วไป คนผิวสีมักถูกจำกัดสิทธิหลายๆ อย่างที่ไม่เป็นธรรม ขนาดรถโดยสารประจำทางก็ยังกันพื้นที่ด้านหลังสำหรับคนผิวสีนั่งโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ไม่มาปะปนกับคนขาว แค่การโดยสารรถสาธารณะยังถูกจำกัดแบบนี้ นับประสาอะไรกับการศึกษาเล่าเรียน คนผิวสีคนไหนที่มีโอกาสได้เรียนหนังสือก็นับว่าโชคดีเอามากๆ เด็กชายคนหนึ่งกำเนิดขึ้นในครอบครัวคนผิวสี พ่อของเขาทำงานในคลับแห่งหนึ่ง ถึงจะไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ แต่พ่อก็ขยันหาความรู้ด้วยการอ่านหนังสือ ส่วนแม่นั้นค่อนข้างมีความรู้มากกว่าสาวผิวสีทั่วไป โดยเธอเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนประถม เด็กชายจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้และความขยันจากทั้งสองมาตั้งแต่เด็ก

Posted in อ่านเถิดจะเกิดผล | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน : อัพ!…กบาล

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2556). อัพ!…กบาล. กรุงเทพฯ : NextBook@NBC. เลขหมู่ : HF5549.5.P39 ภ481อ 2556 อ่านคำโปรยบนหน้าปกหนังสือเล่มนี้แล้วก็ชวนให้สะกิดใจอยู่เหมือนกัน “คุณเป็นคนแบบนี้หรือเปล่า มีมือถือเครื่องละ 2 หมื่นกว่า แต่ใช้เป็นอยู่แค่ 200 ?” ประโยคนี้ไม่รู้ไปจี้ใจใครเข้าให้หรือเปล่า ยอมรับกันเถอะครับว่ายังมีคนประเภทนี้อยู่ บางคนอาจใช้เกิน 200 มานิดนึงแล้วล่ะ แต่ถามกันจริงๆ บอกกันตรงๆ ว่าเราใช้มือถือกันคุ้มกับราคาที่จ่ายไปหรือยัง มีอยู่ไม่น้อยเหมือนกันครับที่ใช้กันจนทะลุปรุโปร่ง ซึ่งอันที่จริงการใช้งานสมาร์ทโฟนที่ว่าคุ้มหรือไม่คุ้มนั้นวัดกันลำบากครับ ก็ขึ้นกับว่าเขาซื้อมาใช้ทำอะไร บางทีการซื้อสมาร์ทโฟนแพงๆ มาเพียงแค่โทรเข้าโทรออก ใครจะว่าไม่คุ้มยังไงมันก็เรื่องของเขานะครับ ก็เงินของเขาโทรศัพท์ของเขา เขาจะซื้อมาทับกระดาษมันก็เรื่องของเขา แต่ในที่นี้เราจะมาคุยกันถึงกรณีที่อยากจะใช้งานให้คุ้มค่ากับราคา กับสมรรถนะ กับประสิทธิภาพที่มันมี มันจะได้ไม่เสียใจไงครับว่าเกิดเป็นสมาร์ทโฟนทั้งที … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

อ่านเถิดจะเกิดผล: ขโมยอ่านก็ยอม

บรรดานักเขียนนักประพันธ์ทั้งหลายในโลกนี้ ล้วนมีอุปนิสัยที่เหมือนกันอยู่อย่างหนึ่งนั่นคือ รักการอ่านเป็นชีวิตจิตใจ หาได้น้อยนักที่คนเขียนหนังสือเก่งๆ ที่จะไม่ชอบอ่านหนังสือ อาจสรุปได้ว่าที่พวกเขาเขียนเก่งเพราะเขาอ่านมาก เห็นจะไม่ผิด ในสมัยก่อนการเรียนในโรงเรียนค่อนข้างจะเข้มงวดและยังสอนแบบให้นักเรียนท่องจำ เชื่อฟังครูอย่างเดียว ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้คิดและใช้จินตนาการมากนัก แต่ก็ยังคงมีโรงเรียนบางแห่งที่มีแนวคิดค่อนข้างทันสมัยคือเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้คิดเองอย่างเต็มที่ แต่ก็นับได้ว่ามีน้อยเต็มทน จึงนับเป็นโชคดีของเด็กชายคนหนึ่งที่ได้เข้าเรียนในโรงเรียนแบบที่ว่านี้ คือโรงเรียน Huntley House เพราะพ่อของเขาเป็นครูใหญ่ที่นี่ เด็กน้อยเริ่มอ่านหนังสือได้ตั้งแต่ยังเล็ก เนื่องจากนั่งฟังพ่อของเขาสอนหนังสือให้พี่ๆ ที่โรงเรียนแห่งนี้ได้เปิดจินตนาการให้เด็กๆ อย่างเต็มที่ ไม่มีการลงโทษ ครูทุกคนเข้าใจธรรมชาติของเด็กๆ

Posted in อ่านเถิดจะเกิดผล | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment