Tag Archives: Plagiarism

การคัดลอกผลงานทางวิชาการ : มีบ้างไหมที่ไม่ต้องอ้างอิง

ครั้งที่แล้วเราคุยกันถึงเรื่อง “การอ้างอิง” ว่าทำไมต้องอ้างและส่วนไหนบ้างในผลงานของเราที่จำเป็นต้องอ้าง ทีนี้ก็อาจจะยังมีข้อสงสัยว่าแล้วมีข้อมูลใดบ้างไหมที่เรานำมาใช้ได้เลยโดยไม่จำเป็นต้องอ้างอิงให้ยุ่งยาก ก็มีอยู่เหมือนกันนะครับ ข้อมูลที่ว่านั้นเราอาจเรียกว่า ความรู้สามัญหรือความรู้ทั่วไป (Common Knowledge) หรือ สาธารณสมบัติ (Public Domain) ถ้าอ่านแค่ตัวอักษรเราก็อาจจะพอนึกออกว่าคืออะไรบ้าง แต่ที่เราเข้าใจนั้นถูกต้องแล้วจริงหรือ เพราะเป็นเรื่องยากมากทีเดียวที่จะตีกรอบบอกขอบเขตของความเป็น “สาธารณะ” หากตีความกันตามตัวอักษรก็บอกอยู่ชัดเจนว่าเป็นสมบัติของทุกๆ คน ไม่ใช่ของผู้ใดผู้หนึ่ง ดังนั้นทุกๆ คนสามารถนำไปใช้ได้อย่างเสรี เป็นข้อมูลที่ทุกๆ คนต่างทราบดี เช่น โลกกลม น้ำทะเลเค็ม หรืออาจเป็นข้อมูลที่เจ้าของผลงานยินยอมให้เป็นสาธารณสมบัติ ดังนั้นเจ้าของผลงานก็จะไม่ใช่เจ้าของอีกต่อไป ถึงอย่างนั้นถ้ามาตีความตามกฎหมายแค่นี้ยังไม่พอนะครับ ยังต้องพิจารณากันอีกยาวทีเดียว

Posted in การลอกเลียนผลงาน, Plagiarism | Tagged , , , , , , | Leave a comment

การคัดลอกผลงานทางวิชาการ : ทำไมต้องอ้างอิง

เราเคยคุยกันไปหลายคราวแล้วถึงประเด็นการคัดลอกผลงานทางวิชาการว่า อย่างไรถึงจะเรียกว่าผิด และควรทำอย่างไรเพื่อให้ถูกต้อง บรรณารักษ์เพิ่งได้อ่านหนังสือน่าสนใจเล่มหนึ่งเรื่อง การลักลอกงานวิชาการและวรรณกรรม จัดพิมพ์โดย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บรรณารักษ์เห็นว่าเป็นประโยชน์อย่างมาก จึงขอสรุปเรียบเรียงบางส่วนให้ทุกท่านได้ศึกษากัน หากท่านใดสนใจจะศึกษาอย่างละเอียด สามารถขอยืมได้จากห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ได้เลยครับ (เลขหมู่ PN167 ก382ก 2554) คำถามที่ใครๆ มักถามกันก็คือ ทำไมต้องอ้างอิงด้วย แน่ล่ะ เพราะเวลาเขียนรายงานหรือทำวิจัย ส่วนของบทอ้างอิงนั้นนับว่ายุ่งยากและซับซ้อนมากทีเดียว หลายท่านเริ่มสับสนและมึนงงไปกับเอกสารมากมายที่ค้นคว้ามา จนอดบ่นไม่ได้ว่า ทำไมต้องอ้างอิง คำตอบนั้นง่ายมากครับ ก็เพราะว่าเราไปเอาข้อมูลของคนอื่นเขามาไงล่ะครับ เราจึงต้องแสดงให้เห็นชัดเจน มิเช่นนั้นก็เข้าข่ายคัดลอกผลงานของคนอื่น ผิดกฎหมายเชียวนะครับ

Posted in การลอกเลียนผลงาน, Plagiarism | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: ข้อควรระวังกับการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (๒)

เมื่อคราวก่อนเราคุยกันถึงเรื่องของการคัดลอกผลงานทางวชาการ (Plagiarism) กันไปแล้วครั้งหนึ่ง คือการคัดลอกแบบคำต่อคำหรือวลีต่อวลี ซึ่งนั่นก็เป็นการคัดลอกแบบหนึ่งที่ใช้กันบ่อยมาก แต่ยังมีการคัดลอกอีกสามประเภทที่ควรเรียนรู้ไว้ การคัดลอกแบบถอดความ คือการสรุปเนื้อหา แปลภาษา หรือปะติดปะต่อผลงานของผู้อื่นเข้าไว้ด้วยกัน โดยให้แตกต่างจากตันฉบับเดิม การทำแบบนี้เป็นการทำให้ผู้อ่านคิดว่าผู้เขียนสร้างสรรค์ผลงานนี้ขึ้นมาเอง ซึ่งเป็นไปได้ หากผู้เขียนไม่ได้ระบุที่มาของเนื้อหาอย่างถูกต้อง การนำความคิดของผู้อื่นมาแสดงเสมือนว่าเป็นความคิดของตนเอง เป็นการนำแนวคิดของผู้อื่นมาเขียนลวงให้คนอื่นเข้าใจว่าเป็นแนวคิดของผู้เขียนเอง หากว่าเป็นแนวคิดของผู้เขียนเองจริงๆ แต่เมื่อภายหลังพบว่าไปเหมือนกับแนวคิดของคนอื่น แบบนี้จะไม่ถึงว่าเป็นการคัดลอกผลงาน ทั้งสองกรณีนี้สามารถหลีกเลี่ยงการถูกกล่าวหาได้ด้วยการระบุแหล่งที่มาของข้อมูล อาจใช้วิธีทำเชิงอรรถหรือหมายเหตุเพื่อแสดงให้เห็นว่าข้อความนั้นๆ ได้ถูกคัดลอกหรือถอดความมาจากผลงานของผู้ใด อาจระบุว่า ถอดความมาจาก… หรือ แปลจาก… หรือ สัมภาษณ์ (ระบุชื่อ) เมื่อ… เป็นต้น ในกรณีที่แปลผลงานของผู้อื่นนั้น สามารถใช้วิธีการถอดความได้ตามแต่สมควร หากแปลมากจนเกินสมควรก็ควรต้องขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์เสียก่อน การนำเอาผลงานเก่าของตนเองมาใช้ใหม่ (Self Plagiarism) เป็นการนำเอาผลงานของตนเองที่เคยเผยแพร่ไปแล้วมาใช้ใหม่โดยไม่ได้มีการปรับปรุง โดยต้องการแสดงให้เห็นว่าเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นมาใหม่ กรณีนำเอาผลงานของตนเองมาใช้ใหม่นี้ถ้ามีการพัฒนาหรือปรับปรุงผลงานเพิ่มเติมก็สามารถทำได้ … Continue reading

Posted in กฎหมายไอที, การลอกเลียนผลงาน, บรรณารักษ์ชวนรู้, Plagiarism | Tagged , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษชวนรู้: ข้อควรระวังกับการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (๑)

เรื่องของการคัดลอกผลงานทางวิชาการ (Plagiarism) เป็นประเด็นร้อนแรงไม่เฉพาะแต่ในบ้านเรา แต่ที่อื่นๆ เขาก็มีการรณรงค์เพื่อมิให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น ทั้งที่จงใจหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ซึ่งใน พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. ๒๕๓๗ ที่ใช้อยู่นั้นมีการระบุถึงข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ไว้ว่า หากเพื่อการวิจัยหรือศึกษา อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร อันนี้ก็จะถือว่าไม่ละเมิด แต่บางครั้งก็อาจเป็นข้อถกเถียงกันได้ เพื่อเป็นการป้องกันเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เช่นนี้ เราจึงต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ บางครั้งอาจจะไม่ผิดกฎหมาย แต่ก็สุ่มเสี่ยงเรื่องของจริยธรรม แต่การคัดลอกข้อความหรือเนื้อหาสำหรับใช้ในผลงานก็ยังมีความจำเป็น แต่จะคัดลอกอย่างไรถึงจะถูกต้องทั้งกฎหมายและจริยธรรม ยิ่งในยุคสมัยที่ข้อมูลกระจายอยู่ทั่วไปในโลกออนไลน์ ยิ่งง่ายต่อการคัดลอก จนกเกิดพฤติกรรมตัด-แปะ (Copy & Paste) เกิดขึ้นได้ง่าย การคัดลอกนี้ก็แบ่งได้เป็นหลายประเภท แบบหนึ่งที่นิยมกันก็คือ การคัดลอกแบบคำต่อคำหรือวลีต่อวลี (Plagiarism Outright) กรณีนี้เป็นการคัดลอกทำซ้ำงานของผู้อื่นโดยไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงส่วนใดของเนื้อหาหรือถ้อยคำเลย ซึ่งเป็นพฤติกรรมของนักตัด-แปะ ที่เห็นกันบ่อยในยุคดิจิตอล แต่หากว่าข้อมูลส่วนนั้นเป็นส่วนที่จำเป็นต้องใช้และไม่อาจดัดแปลงถ้อยคำได้ เราก็ต้องระบุให้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนนี้ได้ทำการคัดลอกมา โดยใช้เครื่องหมายอัญประกาศ (“….”) … Continue reading

Posted in กฎหมายไอที, การลอกเลียนผลงาน, บรรณารักษ์ชวนรู้, Plagiarism | Tagged , , , , , | 2 Comments

อย่างไรคือ การลอกเลียนผลงานทางวิชาการ

อ้างอิงมาจากหนังสือเวียน เรื่อง การจัดทำผลงานเพื่อขอตำแหน่งทางวิชาการ ของกองทรัพยากรบุคคล มหาวิทยาลัยมหิดล ลงวันที่ 29 เมษายน 2554 ที่คณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ ได้สรุปเนื้อหามาจากการประชุมสัมมนาเรื่อง “อย่างไรจึงจะไม่ถูกกล่าวหาว่า ลอกเลียนผลงานทางวิชาการ” ซึ่ง สกอ. จัดขึ้นเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 ความว่า การนำความรู้และข้อมูลของผู้อื่นมาใช้อย่างถูกต้อง คือ ต้องมีการอ้างอิงแหล่งที่มา เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้สร้างองค์ความรู้ อีกทั้งยังเป็นการป้องกันตนเองหากว่าบทความที่นำมานั้นไม่ถูกต้อง และผู้นำองค์ความรู้นั้นไปใช้ ควรเขียนบรรยายองค์ความรู้นั้นด้วยลีลาและโวหารของตนเอง การแปลจากภาษาต่างประเทศ กฎหมายลิขสิทธิ์คุ้มครองผู้เขียนบทความดั้งเดิมไว้ ดังนั้นจึงไม่สามารถแปลประโยคต่อประโยค โดยไม่ขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนได้ ถ้าในกรณีต้องการนำความรู้จากบทความต่างประเทศมาใช้ ต้องเรียบเรียงและนำเสนอองค์ความรู้นั้นด้วยลีลาและโวหารของตนเอง รวมทั้งอ้างอิงแหล่งที่มาขององค์ความรู้นั้นด้วย การทำผลงานทางวิชาการ คือการทำผลงานให้เกิดสิ่งใหม่ ถึงแม้คนเรามีความคิดที่คล้ายกัน แต่ภาษาที่ใช้ไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน ควรทำความเข้าใจและเรียบเรียงใหม่โดยใช้ภาษาของเราเอง แต่ถ้าไม่แน่ใจว่าความคิดหรือคำพูดที่ใช้ … Continue reading

Posted in การลอกเลียนผลงาน | Tagged , , | Leave a comment

Turnitin โปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน และให้คะแนนออนไลน์

วันนี้ 7 ก.ค. 53 ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข จัดอบรมการใช้งานโปรแกรมตรวจสอบการคัดลอกผลงาน และสร้างห้องเรียนออนไลน์ที่มีชื่อว่า Turnitin ซึ่งมหาวิทยาลัยมหิดลได้จัดซื้อมาเป็นเวลาปีกว่าแล้ว (อ่านว่า turn-it-in) วิทยากรโดยคุณภวัต เรืองยิ่ง จากบริษัท Book Promotion อาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาให้ความสนใจมาก ทั้งที่มาจากภายในคณะวิทย์เอง และคณะเพื่อนบ้านใกล้เคียง จองที่นั่งในห้องคอมพิวเตอร์กันจนเต็ม วันที่ 21 ส.ค. ที่จะถึงนี้ โปรแกรมจะเปลี่ยนเป็น version ใหม่ คือ Turnitin 2 แต่การอบรมวันนี้ เห็นได้ชัดว่า 1 ปีผ่านไป โปรแกรมมีอะไรดีๆ ขึ้นเยอะ เรื่องแรกคือการตรวจสอบการคัดลอกผลงาน (Plagiarism) แหล่งข้อมูลที่จะใช้ตรวจสอบมาจาก … Continue reading

Posted in E-Databases | Tagged , | 3 Comments

Plagiarism โจรกรรมทางวิชาการ

เมื่อวานนี้ 22 ส.ค. 51 คุณหมอชัยรัตน์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลังปริญญา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เพื่อนร่วมรุ่นสมัยฝึกอบรมโครงการ MU-EDP รุ่น 4 ชักชวนไปร่วมเสวนา Siriraj Cafe Meeting ครั้งที่ 1 ที่ตึกอดุลยเดชวิกรม … โดยเลือกหัวข้อเสวนาที่สุดฮิตในวงการวิชาการในขณะนี้ คือ เรื่อง “Plagiarism โจรกรรมทางวิชาการ เป็นอย่างไร ?” ผู้บริหารและอาจารย์ของศิริราชทั้งที่มาร่วมเสวนา และมาฟังการเสวนา ให้ความสนใจซักถาม แสดงความคิดเห็น และสร้างบรรยากาศเป็นกันเอง สนุกสนานมาก … (ไม่นับที่อุตส่าห์พาไปเลี้ยงข้าวกลางวันริมแม่น้ำเจ้าพระยาก่อนเริ่มรายการด้วย …) ก่อนไปได้ update แหล่งข้อมูลที่น่าสนใจเอาไว้ที่เว็บไซต์ของห้องสมุดสตางค์ ที่ http://stang.sc.mahidol.ac.th/Plagiarism.htm หากสนใจก็ติดตามมาดูได้นะคะ ในนั้นจะมีรายชื่อ Plagiasism … Continue reading

Posted in Plagiarism | Tagged , | Leave a comment

Turnitin

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. 51 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดงานสัมมนาที่ศาลายา และเชิญ CEO ของบริษัท iParadigms คือ Dr. John Barrie มาบรรยายแนะนำโปรแกรมตรวจจับ Plagiarism ที่มีชื่อว่า Turnitin (อ่านว่า Turn – It – in) Dr. John Barrie จบปริญญาเอกสาขา Biophysics เป็นอาจารย์อยู่ที่มหาวิทยาลัย UC Berkeley และเป็นผู้ริเริ่มคิดค้นโปรแกรม Turnitin ซึ่งนัยว่าเหมาะสำหรับการตรวจสอบผลงานของนักเรียนนักศึกษาโดยเฉพาะ … นิยมใช้กันมากที่ประเทศอังกฤษ และสิงคโปร์ หลักการคือ  … Continue reading

Posted in Plagiarism | Tagged , | Leave a comment