Tag Archives: วัฒนธรรมการอ่าน

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: อ่านเถิดชาวไทย

กนกพรรณ เหตระกูล. (2555). อ่านเถิดชาวไทย. กรุงเทพ : แพรวสำนักพิมพ์. (206 หน้า) Call No. Z1003 อ623 2555 ในยุคสมัยที่นักวิชาการไทยต่างกังวลว่า คนไทยอ่านหนังสือน้อย ก็มีประเด็นที่เปิดขึ้นมาอีกว่า อ่านน้อยอ่านมากไม่สำคัญว่าอ่านอะไร บ้างก็ว่า อ่านน้อยโอกาสก็น้อยตาม หรืออะไรก็ตามแต่ที่ใครต่อใครพยายามบอกเล่าแนวคิดของตนเกี่ยวกับการอ่านหนังสือ ซึ่งบรรณารักษ์สงสัยว่า ตกลงจุดหมายมันคืออะไรกันแน่ บางท่านมองว่าอ่านอะไรนั้นสำคัญกว่า บ้างก็ว่าปริมาณก็สำคัญไม่ต่างกัน บรรณารักษ์มองว่าปล่อยไปตามธรรมชาติเถอะ ใครอ่านใครก็ได้ของเขาเอง ถ้าการอ่านหนังสือมันต้องถึงขั้นรณรงค์ หรือบังคับขืนใจให้อ่าน (ทั้งที่ไม่อยากอ่าน) มันก็ออกจะเกินไปหน่อย ถ้ามันดีจริงเขาก็อ่านเอง เพียงแค่มันอาจจะยังไม่ถึงเวลาเท่านั้น

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

“ถ้าเกิดไฟไหม้ไม่ต้องเก็บเครื่องเพชร ให้เก็บหนังสือก่อน”

แต่ไหนแต่ไรมา บทบาทของผู้หญิงในสังคมไทยหากว่ากันตามจริงนับว่าเป็นรองผู้ชายอยู่มากโข ยิ่งกับเรื่องการศึกษาเล่าเรียนด้วยแล้ว ยากนักที่จะมีโอกาสได้เรียนเขียนอ่านเหมือนผู้ชาย แม้จะเป็นเจ้านายฝ่ายในก็ยังไม่ได้รับโอกาสเท่าใดนัก ประเทศสยามในสมัยแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปิดประเทศเพื่อคบค้ากับชาวต่างชาติมากขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศสยามเป็นอารยะ ประชาชนต่างตื่นตัวรับวัฒนธรรมและวิทยาการของชาติตะวันตก รวมถึงค่านิยมในการให้บุตรหลานได้เล่าเรียนหนังสือมากขึ้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสนับสนุนการศึกษาในทุกระดับ โดยเฉพาะพระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์ ถึงอย่างนั้นก็ยังติดธรรมเนียมบางประการที่ทำให้สตรีไม่อาจได้รับการศึกษาเทียบเท่าบุรุษ

Posted in การอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

“หนังสือ” ช่วยเยียวยาจิตใจ

ยังจำโศกนาฏกรรมจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2011 กันได้ไหมครับ เหตุการณ์ครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย ทำลายบ้านเรือนและอาคารอีกหลายแห่ง และหนึ่งในจำนวนนั้นคือห้องสมุด ขณะที่ทุกภาคส่วนต่างระดมให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นอย่างเต็มที่ ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนเล็กๆ ที่อาจไม่มีใครคาดถึง ส่วนเล็กๆ ที่อาจดูเหมือนไม่จำเป็นในยามนั้น แต่มันก็ช่วยเยียวยาจิตใจของเด็กๆ ได้พอสมควร บรรณารักษ์ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานใดเป็นโต้โผหลักในการนี้ แต่ขอน้อมคาราวะจิตใจคนญี่ปุ่นจริงๆ ว่าเข้มแข็งและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมชาติอย่างน่ายกย่อง ที่จังหวัด Iwate มีรถห้องสมุดเคลื่อนที่นำหนังสือไปตามจุดต่างๆ ทั่วเมืองเพื่อให้บริการ เดิมทีประเทศนี้เขาก็มีกิจกรรมแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ในยามไม่ปกติเช่นนี้ การได้อ่านหนังสือดีๆ สักเล่มก็อาจช่วยเยียวยาความเจ็บปวดหรือความเครียดไปได้บ้าง โดยเฉพาะกับเด็ก

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , | Leave a comment

กังวลกันไปทำไมกับสถิติการอ่านของคนไทย

*ข้อเขียนมีทัศนะส่วนตัวของผู้เขียนด้วย ผลสำรวจการอ่านหนังสือของคนไทย พ.ศ. 2556 คลอดออกมาแล้ว เท่าที่เห็นตามสื่อต่างๆ ส่วนใหญ่จะร่วมกันเฮยกใหญ่ว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มขึ้น จากที่ประชดประชันกันมาเนิ่นนานว่าคนไทยอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด ทุกสื่อต่างพากันชื่นชมว่าคนไทยอ่านหนังสือเพิ่มมากขึ้นเป็นเฉลี่ยวันละ 37 นาที ไม่รู้จะร่วมชื่นชมกันดีไหมนะครับ กับตัวเลขที่ไม่รู้ว่าจะพาดหัวกันให้ได้อายไปทำไม เอาล่ะ อย่างน้อยมันก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

Posted in หนังสือ | Tagged , , , , , | 2 Comments

อ่านเถิดจะเกิดผล: อ่านเพราะถูกทำโทษ

แม้ว่าอเมริกาจะได้ชื่อว่าเป็นดินแดนแห่งโอกาสและความเท่าเทียม แต่ย้อยไปเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้ว สังคมอเมริกันยังมีการกีดกันเรื่องสีผิวอยู่ทั่วไป คนผิวสีมักถูกจำกัดสิทธิหลายๆ อย่างที่ไม่เป็นธรรม ขนาดรถโดยสารประจำทางก็ยังกันพื้นที่ด้านหลังสำหรับคนผิวสีนั่งโดยเฉพาะ เพื่อจะได้ไม่มาปะปนกับคนขาว แค่การโดยสารรถสาธารณะยังถูกจำกัดแบบนี้ นับประสาอะไรกับการศึกษาเล่าเรียน คนผิวสีคนไหนที่มีโอกาสได้เรียนหนังสือก็นับว่าโชคดีเอามากๆ เด็กชายคนหนึ่งกำเนิดขึ้นในครอบครัวคนผิวสี พ่อของเขาทำงานในคลับแห่งหนึ่ง ถึงจะไม่มีโอกาสได้เรียนสูงๆ แต่พ่อก็ขยันหาความรู้ด้วยการอ่านหนังสือ ส่วนแม่นั้นค่อนข้างมีความรู้มากกว่าสาวผิวสีทั่วไป โดยเธอเป็นครูสอนหนังสือในโรงเรียนประถม เด็กชายจึงได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้และความขยันจากทั้งสองมาตั้งแต่เด็ก

Posted in อ่านเถิดจะเกิดผล | Tagged , , , , | Leave a comment

อ่านเถิดจะเกิดผล: แค่ชาวไร่ชาวนา อ่านออกเขียนได้ก็เกินพอ?

ประเทศจีนช่วงปลายศตวรรษที่ ๑๙ เข้าสู่ ศตวรรษที่ ๒๐ ทั้งประเทศมีสภาพที่แทบจะไม่แตกต่างกันนั่นคือมีคนจนมากกว่าคนรวย ที่มณฑลหูนานยังมีครอบครัวชาวนาที่ยากจนครอบครัวหนึ่ง แม้จะได้ชื่อว่ายากจนแต่ก็ยังมีฐานะดีกว่าครอบครัวอื่นๆ เพราะอย่างน้อยพวกเขาก็มีที่ดินเป็นของตนเอง ปี ๑๘๙๓ เด็กชายคนหนึ่งได้เกิดขึ้นในครอบครัวนี้ มารดาเอาใจใส่และรักเด็กชายมาก เพราะพี่ชายทั้งสองของเขาต่างเสียชีวิตไปตั้งแต่ยังเล็ก แต่บิดากลับเป็นคนที่เข้มงวดและพยายามให้เจ้าหนูทำงานอย่างหนักตั้งแต่ยังเล็ก ซึ่งเจ้าหนูก็ไม่เคยปริปากบ่น แต่ดูเหมือนว่าทุกสิ่งที่ทำล้วนแต่ยังไม่ถูกใจบิดาเลย เมื่ออายุแปดขวบเด็กชายได้เข้าเรียนหนังสือ ที่นั่นเขาแสดงความฉลาดเหนือเด็กคนอื่นๆ พอายุได้ ๑๓ ปี บิดาก็บังคับให้เขาลาออกจากโรงเรียนมาช่วยทำนาเนื่องจากไม่เห็นความสำคัญของการเรียนสูงๆ บิดาเคยบอกเขาว่าเป็นแค่ชาวไร่ชาวนาจะเรียนสูงๆ ไปทำไม แค่อ่านออกเขียนได้ก็นับว่าเกินพอแล้ว

Posted in อ่านเถิดจะเกิดผล | Tagged , , , | Leave a comment

E-Books ทางเลือกของหนอนหนังสือยุคดิจิตอล

เพิ่งจะหมดงานสัปดาห์หนังสือไปหมาดๆ หลายท่านคงได้หนังสือมาเยอะแยะ แต่เดี๋ยวนี้มีหนังสือให้เลือกอ่านกันมากมายในรูปแบบออนไลน์ แล้วผู้คนยุคนี้ก็มีอุปกรณ์ไอทีติดตัวกันแทบทั้งนั้น การอ่านหนังสือจึงไม่ได้หยุดอยู่ที่รูปเล่มอีกต่อไป สำหรับหนอนหนังสือที่ขาดหนังสือไม่ได้จริงๆ เรามีเว็บ e-books น่าสนใจทั้งแบบฟรีและไม่ฟรีมานำเสนอ เผื่อจะช่วยลดอาการอยากหนังสือกันได้บ้าง (ทดลองเข้าใช้โดยคลิกที่ชื่อได้เลย) E-Books Databases เป็นรายการฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่บอกรับโดย มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) หรือที่เป็น Free Databases ส่วนใหญ่จะเป็นหนังสือวิชาการ และบางฐานต้องใช้ภายใต้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตของมหิดลเท่านั้น ทางห้องสมุดสตางค์ได้แบ่งตามฐานข้อมูลและแยกเป็นชื่อเรื่องไว้ให้เลือกอ่านเพื่อความสะดวก

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

ห้องสมุดการ์ตูน…จุดประกายการอ่าน

วันนี้บรรณารักษ์จะชวนมาอ่านการ์ตูนกันครับ หลายคนมีการ์ตูนเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักอ่าน เพราะมันอ่านง่าย เข้าใจง่าย มีภาพประกอบทำให้เราสนใจ การ์ตูนน่าจะเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมสากลเหมือนๆ กับเพลงที่แม้จะฟังภาษาไม่ออกแต่เราก็ซาบซึ้งเหมือนกันได้ การ์ตูนก็เช่นกัน อากัปกิริยาของตัวละครทำให้เราเข้าใจมุขได้เหมือนๆ กันทั้งที่บางครั้งเราก็อ่านไม่ออก หรือบางครั้งไม่มีคำบรรยายด้วยซ้ำ เด็กๆ ในยุคนี้ค่อนข้างจะโชคดีที่สังคมเปิดกว้างขึ้นสำหรับการ์ตูน บรรณารักษ์จำได้ว่าสมัยเป็นเด็กน้อยครั้งนักที่จะมีโอกาสได้อ่าน เอาแค่ให้ได้มีการ์ตูนสักเล่มก็นับว่ายากเลย ด้วยการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในยุคนั้นซึ่งบรรณารักษ์เชื่อว่าหลายบ้านก็คงคล้ายๆ กัน คือมองว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ แต่ในยุคสมัยนี้การ์ตูนกลายเป็นสิ่งที่แสนจะธรรมดาในสังคมไทย มันคือการเริ่มต้นของเด็กๆ หลายคนที่จะเติบโตมากลายเป็นหนอนหนังสือตัวยง ถึงอย่างนั้นก็ดีการ์ตูนก็ยังแฝงพิษภัยไว้เช่นกัน หากมีการนำเสนอแนวคิดด้านใดด้านหนึ่งอย่างสุดโต่ง บรรณารักษ์เชื่อว่าทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องห้ามหรอกครับ เพราะเดี๋ยวนี้การ์ตูนมีทั่วไปจะหาอ่านที่ไหนก็ได้ แต่เราควรอยู่กับเขาให้มากขึ้นดีกว่าไหม อ่านกับเขาด้วยเสียเลย และช่วยแนะนำ คัดกรอง น่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า แถมยังสร้างความผูกพันระหว่างกันได้ดีอีกด้วยนะครับ ตามประสาคนรักการ์ตูน เชื่อว่าหลายท่านก็คงคิดฝันคล้ายๆ กันว่าอยากจะมีห้องสมุดที่มีแต่การ์ตูนบ้างจังเลย ตอนนี้บ้านเราก็มีแล้วนะครับ ชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้วยขวาง” อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ด้วยแนวคิดที่ว่า … Continue reading

Posted in การอ่าน | Tagged , , , , , , , | Leave a comment