Tag Archives: ห้องสมุด

บรรณารักษ์ชวนรู้: เครื่องขายหนังสืออัตโนมัติ

ยุคนี้ทุกท่านคงคุ้นเคยกันดีกับเครื่องขายของอัตโนมัติ ที่เดี๋ยวนี้มีขายกันทุกอย่างสารพัดตั้งแต่สินค้าชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงสินค้าที่นึกไม่ถึงว่าจะมาขายแบบอัตโนมัติอย่างจักรยาน! แล้วเรามักจะคุ้นเคยกันว่าประเทศญี่ปุ่นที่เขาเป็นเจ้าแห่งการขายแบบออโต้ ถ้าใครเคยไปประเทศนี้ก็จะเห็นตู้ขายอะไรต่อมิอะไรเรียงรายเต็มประเทศไทยหมด ไม่เว้นแม้แต่หนังสือ เรื่องของตู้หนังสืออัตโนมัติอาจจะใหม่สำหรับบ้านเรา แต่หลายประเทศเขาก็มีใช้กันมานาน ถามว่าเป็นของใหม่หรือเปล่า ก็ไม่เชิงนะครับ ก็เพียงเปลี่ยนจากสินค้าเป็นหนังสือแทนเท่านั้น แต่หนังสืออาจไม่ใช่ของที่ผู้คนจะซื้อกันบ่อยๆ แค่นั้นเอง ย้อนกลับไปในอดีตความคิดที่จะทำเครื่องขายหนังสืออัตโนมัติมีมานานโขนับร้อยปีแล้วนะครับ เมื่อปี 1822 ที่ประเทศอังกฤษ มีกระทาชายนายหนึ่งพยายามหาวิธีขายหนังสือแบบที่ไม่ต้องใช้คนขาย แต่ก็ไม่เวิร์คเท่าไหร่ จนถึงปี 1937 เครื่องขายหนังสืออัตโนมัติแบบที่ครบวงจรและเป็นที่ยอมรับได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดย Penguin Publishing จากการสร้างสรรค์ของ Allen Lane โดยตั้งชื่อว่า Penguincubator (มาจากชื่อสำนักพิมพ์ Penguin กับคำว่า Incubator ที่แปลว่าตู้ฟัก) จำหน่ายหนังสือปกอ่อนของสำนักพิมพ์ที่เป็นวรรณกรรมคลาสสิก สนนราคาในตอนนั้นก็เท่ากับบุหรี่หนึ่งซอง

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment

ห้องสมุดการ์ตูน…จุดประกายการอ่าน

วันนี้บรรณารักษ์จะชวนมาอ่านการ์ตูนกันครับ หลายคนมีการ์ตูนเป็นจุดเริ่มต้นของการเป็นนักอ่าน เพราะมันอ่านง่าย เข้าใจง่าย มีภาพประกอบทำให้เราสนใจ การ์ตูนน่าจะเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมสากลเหมือนๆ กับเพลงที่แม้จะฟังภาษาไม่ออกแต่เราก็ซาบซึ้งเหมือนกันได้ การ์ตูนก็เช่นกัน อากัปกิริยาของตัวละครทำให้เราเข้าใจมุขได้เหมือนๆ กันทั้งที่บางครั้งเราก็อ่านไม่ออก หรือบางครั้งไม่มีคำบรรยายด้วยซ้ำ เด็กๆ ในยุคนี้ค่อนข้างจะโชคดีที่สังคมเปิดกว้างขึ้นสำหรับการ์ตูน บรรณารักษ์จำได้ว่าสมัยเป็นเด็กน้อยครั้งนักที่จะมีโอกาสได้อ่าน เอาแค่ให้ได้มีการ์ตูนสักเล่มก็นับว่ายากเลย ด้วยการเลี้ยงดูของพ่อแม่ในยุคนั้นซึ่งบรรณารักษ์เชื่อว่าหลายบ้านก็คงคล้ายๆ กัน คือมองว่าการ์ตูนเป็นสิ่งไร้สาระ แต่ในยุคสมัยนี้การ์ตูนกลายเป็นสิ่งที่แสนจะธรรมดาในสังคมไทย มันคือการเริ่มต้นของเด็กๆ หลายคนที่จะเติบโตมากลายเป็นหนอนหนังสือตัวยง ถึงอย่างนั้นก็ดีการ์ตูนก็ยังแฝงพิษภัยไว้เช่นกัน หากมีการนำเสนอแนวคิดด้านใดด้านหนึ่งอย่างสุดโต่ง บรรณารักษ์เชื่อว่าทางที่ดีคุณพ่อคุณแม่ไม่จำเป็นต้องห้ามหรอกครับ เพราะเดี๋ยวนี้การ์ตูนมีทั่วไปจะหาอ่านที่ไหนก็ได้ แต่เราควรอยู่กับเขาให้มากขึ้นดีกว่าไหม อ่านกับเขาด้วยเสียเลย และช่วยแนะนำ คัดกรอง น่าจะเป็นหนทางที่ดีกว่า แถมยังสร้างความผูกพันระหว่างกันได้ดีอีกด้วยนะครับ ตามประสาคนรักการ์ตูน เชื่อว่าหลายท่านก็คงคิดฝันคล้ายๆ กันว่าอยากจะมีห้องสมุดที่มีแต่การ์ตูนบ้างจังเลย ตอนนี้บ้านเราก็มีแล้วนะครับ ชื่ออย่างเป็นทางการก็คือ “ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้ ห้วยขวาง” อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกรุงเทพมหานคร ด้วยแนวคิดที่ว่า … Continue reading

Posted in การอ่าน | Tagged , , , , , , , | Leave a comment

เก็บตกการบรรยาย “การประชาสัมพันธ์กับห้องสมุด ทำอย่างไรจะประสบผลสำเร็จ”

เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม มีโอกาสได้ไปบรรยายที่ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยรังสิต ซึ่งจัดเสวนาวิชาการและบริการสำหรับบรรณารักษ์และเจ้าหน้าที่ของสำนักฯ เป็นการพัฒนาบุคลากรและยังช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานได้ด้วย โดยหัวข้อที่ได้รับเชิญคือ “การประชาสัมพันธ์กับห้องสมุด ทำอย่างไรจะประสบผลสำเร็จ” สิ่งแรกที่คิดถึงเมื่อได้รับเชิญคือ เพราะเขามองว่าห้องสมุดสตางค์ทำประชาสัมพันธ์ได้ประสบผลสำเร็จ จึงใคร่รู้ว่าเราคิดอย่างไรและทำอย่างไร ตรงนี้ก็บังเกิดความภาคภูมิใจแก่หน่วยงานว่าเราได้กลายเป็นกรณีศึกษา หมายถึงว่ามีคนเห็นสิ่งที่เราทำว่าดี แต่เมื่อดีแล้วต้องอย่าให้เสีย ยิ่งต้องดีต่อไปเรื่อยๆ สิ่งที่คิดตามมาก็คือคำว่า “ประสบผลสำเร็จ” นั้น วัดกันที่ใด เป็นคำถามที่ชวนให้คิดว่าอย่างไรถึงเรียกว่าสำเร็จ ไม่ใช่เฉพาะในหัวข้อนี้ แต่กับทุกงานที่ทำเราก็ต้องพิจารณาด้วยเช่นกัน จึงนำแนวคิดนี้เป็นโจทย์ในการบรรยายเสียเลย ซึ่งไม่มีคำตอบให้หรอกครับ กลับส่งคำถามเพิ่มให้เขาเสียอีก เป็นการให้คำตอบด้วยคำถามก็คงไม่ผิดนัก ก็ไม่ต่างอะไรกับการตั้งเป้าหมายที่เดี๋ยวนี้ทุกองค์กรต้องมีการตั้งเป้ากันไว้ใช่ไหมครับ บางแห่งก็เรียกสวยๆ ว่าผลสัมฤทธิ์ จะเรียกอะไรก็ตามแต่มันก็คือจุดมุ่งหมายท้ายสุดในสิ่งที่เราทุ่มเททำลงไป การประชาสัมพันธ์ที่เป็นโจทย์นี้ก็เช่นเดียวกัน ผมเองก็ตอบแบบฟันธงไม่ได้หรอกว่าทำอย่างไร แต่แนะนำได้ว่ามันก็ขึ้นกับว่าเราประชาสัมพันธ์อะไรต่างหาก

Posted in การตลาดกับห้องสมุด, ห้องสมุด | Tagged , , , , , , , | Leave a comment

การตลาดกับห้องสมุด: ห้องสมุดของหนังสือที่ไม่ถูกยืม

บรรณารักษ์ไปอ่านเจอบทความสั้นๆ ใน มติชนสุดสัปดาห์ ว่าด้วยเรื่องของนิทรรศการแปลกๆ ที่แมนฮัตตัน โดยเขาตั้งชื่อไว้น่าสนใจว่า “The Library of Unborrowed Books” ก็เลยมาลองค้นหารายละเอียดเพิ่มเติม จึงนึกสะท้อนถึงหนังสือที่มีอยู่ในห้องสมุด ว่ามีหลายเล่มเหมือนกันที่ไม่เคยถูกยืม หรือถูกยืมครั้งสุดท้ายก็นานเป็นชาติแล้ว   ศิลปินผู้จัดงานนี้เป็นชาวสวีดิช ชื่อว่า Meriç Algün Ringborg เขาไปขอหนังสือจาก Center for Fiction’s library (น่าจะอยู่ในนิวยอร์ก) โดยเขาคัดเฉพาะหนังสือที่ไม่มีคนยืมออกไปเลยแม้ซักครั้งเดียว เอามาจัดแสดงไว้ที่ Art in General ในแมนฮัตตัน นัยว่าเพื่อสะท้อนให้เห็นถึงคุณค่าที่ถูกลืมเลือนของหนังสือ ขณะเดียวกันก็เป็นแรงกระตุ้นให้คนหันมาสนใจหนังสือที่ว่ากันว่า ไม่มีใครยืมไปอ่าน อย่างน้อยคนที่มาดูก็คงอยากจะรู้เหมือนกันว่าทำไมมันถึงไม่ถูกยืม และเผลอๆ มันจะถูกยืมไปอ่านก็เพราะงานนี้ล่ะ หนังสือที่นำมาจัดแสดงบางเล่มก็นึกไม่ถึงว่าจะไม่มีใครยืมจริงๆ … Continue reading

Posted in การตลาดกับห้องสมุด | Tagged , , , , | Leave a comment

การตลาดกับห้องสมุด: ประสบการณ์ในการใช้สื่อออนไลน์กับงานประชาสัมพันธ์ห้องสมุด

เรามักจะชอบพูดกันเสมอว่าให้นำเอาสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) มาประยุกต์ใช้กับงานห้องสมุด เพื่อให้ทันต่อยุคสมัย อีกทั้งมันยังมีประโยชน์อย่างเช่นสามารถกระจายข้อมูลได้ในวงกว้าง เขาถึงผู้ใช้ได้อย่างอิสระ ไม่มีค่าใช้จ่าย แล้วก็ยกเหตุผลโน่นนี่มากมายมาประกอบ แต่ลองย้อนมาถามตัวเองกันหรือยังว่าแล้วสิ่งที่จะสื่อออกไปนั้นคืออะไร ห้องสมุดโดยส่วนใหญ่มักจะใช้ Social Media ไปกับงานประชาสัมพันธ์ ซึ่งนั่นก็ถูกครับ และอาจจะเป็นอย่างเดียวที่ห้องสมุดจะสามารถทำได้บนสื่อออนไลน์ หากแต่คำว่า “ประชาสัมพันธ์” ควรจะมีความหมายที่มากไปกว่าแค่การบอกว่าห้องสมุดมีกิจกรรมอะไร มีทรัพยากรอะไร สิ่งหนึ่งที่ห้องสมุดทำได้และควรทำคือการสอดแทรกเนื้อหาสาระลงในไป “สาร” ที่เรา “สื่อ” ไปถึงผู้ใช้ ผมเห็นบ่อยๆ ว่าหลายองค์กรนิยมออกสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทจุลสาร จดหมายข่าว และส่วนใหญ่เนื้อหาก็มักจะหนีไม่พ้นกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กรได้ทำ อย่างกิจกรรม ๕ส. ไปบริจาคผ้าห่มให้คนดอย ไปช่วยพระกวาดลานวัด ไปบริจาคสิ่งของให้ที่นั่นที่นี่ ก็คือกิจกรรม CSR หรือไม่ก็กิจกรรมที่จัดขึ้นโดยองค์กรนั้นๆ ถามว่าแบบนี้ผิดด้วยเหรอ ไม่ผิดหรอกครับ … Continue reading

Posted in การตลาดกับห้องสมุด | Tagged , , , , , , | Leave a comment

การตลาดกับห้องสมุด : สื่อออนไลน์ จำเป็นแค่ไหนกับห้องสมุด

ผมจำได้ว่าเมื่อหลายปีก่อน บรรดากูรูทั้งหลายฟันธงว่าสื่อออนไลน์จะครองโลก แล้วก็พากันคาดการณ์ไปต่างๆ นานา เพียงไม่นานนักสื่อออนไลน์ก็เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันของทุกคนไปเรียบร้อย แล้วกับงานห้องสมุดล่ะ มันจำเป็นแค่ไหน ก่อนอื่นผมอยากจะลองถามย้อนกลับไปก่อนว่าเราเข้าใจสื่อออนไลน์มากแค่ไหน อะไรคือสื่อออนไลน์ เราใช้มันเพื่ออะไร กลุ่มเป้าหมายคือใคร แล้วใครเป็นผู้ควบคุมดูแล จำกันได้ไหมครับเมื่อครั้งหนึ่งวงการห้องสมุดเห่อกันมากกับคำว่า ห้องสมุดดิจิทัล ตกลงมันคืออะไรครับ หลายคนคิดไปว่าก็คือการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับงานห้องสมุดก็เป็นห้องสมุดดิจิทัลแล้ว บางคนก็ไปให้ความสำคัญกับทรัพยากรหรืออะไรที่เป็นดิจิทัล บางคนก็รื้อเว็บไซต์ใหม่ให้ดูทันสมัย สรุปว่าห้องสมุดส่วนใหญ่ก็ยัดทุกสิ่งอันที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ (จำพวก E โน่น E นี่) เข้ามาในห้องสมุดแล้วก็ประกาศว่าฉันคือห้องสมุดดิจิทัล แต่พอเปิดเข้าไปดูก็เห็นมีแต่ลิงค์ ลิงค์ แล้วก็ลิงค์ เจออันนั้นดีอันโน้นดีก็เอามาผูกเข้ากับเว็บห้องสมุด จนกลายเป็นเว็บท่า (Portal Web) แบบนี้ผมค้นใน google เอาก็ได้ครับ

Posted in การตลาดกับห้องสมุด | Tagged , , , , | Leave a comment

เก็บตกการบรรยาย “บรรณารักษ์ใช้ชีวิตอย่างไรในโลกอาเซียน”

บทความนี้มีส่วนที่เป็นความเห็นส่วนตัวของผู้เขียน   วันนี้ (๒๐ ธันวาคม ๒๕๕๕) ได้มีโอกาสไปฟังบรรยายพิเศษ โดย อาจารย์อภิสิทธิ์ ไล่สัตรูไกล ผู้อำนวยการศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) ในเรื่อง “บรรณารักษ์จะใช้ชีวิตอย่างไรในโลกอาเซียน: มุมมองผู้บริหาร จัดโดย ชมรมห้องสมุดเฉพาะ สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ ได้มุมมองอะไรแปลกๆ จากวิทยากรที่ไม่ใช่เป็นบรรณารักษ์ แต่ทำหน้าที่ดูแล TCDC ที่มีห้องสมุดเป็นจุดขาย เพราะนี่คือห้องเฉพาะ (จริงๆ) ที่ผมว่าเลิศที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ อาจารย์อภิสิทธิ์เริ่มต้นด้วยคำถามที่แสดงความห่วงใยของความอยู่รอดของห้องสมุด ซึ่งก็น่าคิดอยู่เหมือนกันนะครับว่าในยุคที่ความจำเป็นในการเข้าห้องสมุดน้อยลง จึงเริ่มมีคำถามว่าแล้วห้องสมุดยังจำเป็นต้องมีอยู่อีกหรือไม่? อาจารย์อภิสิทธิ์ตั้งคำถามว่า จะมีครอบครัวไหนบ้างไหมที่วันหนึ่งจะมีใครซักคนชักชวนกันบอกว่า “วันนี้ไปห้องสมุดกันเถอ” หรือคนที่เรียนจบแล้ว ทำงานแล้ว ถามหน่อยว่าเคยกลับไปห้องสมุดอีกครั้งไหม ถ้าไม่ใช่เพราะเราต้องการอะไรจากห้องสมุด จะเป็นข้อมูลเพื่อทำงานหรือเพื่อใช้ชีวิตประจำวัน หรือจะอะไรก็แล้วแต่ หรือแค่เข้าไปเดินเล่นก็ตามทีเถอะ ผมก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าคนไทยโดยทั่วไปเขาจะเข้าห้องสมุดกันไหม … Continue reading

Posted in ห้องสมุด | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment

การตลาดกับห้องสมุด : รู้เรา รู้เขา ชนะตั้งแต่ยังไม่รบ

‘ซุนวู’ เคยว่าไว้ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งก็ชนะร้อยครั้ง ความจริงเป็นการเปรียบเทียบสอนให้รู้จักกำลังตนและกำลังฝ่ายตรงข้าม มิให้ประมาท ไม่ใช่เฉพาะแค่การศึกสงคราม แต่ในสมรภูมิชีวิตเราก็เอามาปรับใช้ได้เหมือนกัน เดือนพฤศจิกายนนี้ ที่ห้องสมุดสตางค์ได้รับเกียรติจากหน่วยงานระดับบิ๊กถึงสองแห่งแจ้งความประสงค์มาเยี่ยมเยียน ศึกษาดูงาน คือ ห้องสมุดธนาคารแห่งประเทศไทย และ สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ พอฟังชื่อสองหน่วยงานนี้แล้วเล่นเอาหลายคนเกร็ง โดยเฉพาะน้องๆ ที่สงสัยหนักหนาว่า “พวกเขาจะมาดูอะไรเรา” ตั้งวงสนทนาแลกเปลี่ยนความรู้กันอย่างเมามัน เล่าไปจะหาว่าคุย แต่ก่อนนั้นย้อนไปไม่ไกลสัก ๒-๓ ปี ห้องสมุดสตางค์ของเราให้การต้อนรับหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาเยี่ยมเยียนดูงานเป็นประจำทุกเดือน ผมลองนั่งนับย้อนหลังไป ๕ ปีหลังสุด เอาอย่างที่เป็นทางการนะครับ มีหน่วยงานมาดูงานเราถึง ๕๐ ครั้ง ก็เฉลี่ยปีละ ๑๐ ครั้งทีเดียว นี่ยังไม่นับเคสที่มากันแบบฉุกเฉิน แวะมากันแบบไม่เป็นทางการ หรือไม่ก็มากันด้วยความสนิทสนมเป็นการส่วนตัว ซึ่งในทุกๆ … Continue reading

Posted in การตลาดกับห้องสมุด | Tagged , , , , , | Leave a comment