Tag Archives: การสืบค้น

บรรณารักษ์ชวนรู้ : Scilit แหล่งสารสนเทศ (ฟรี) ด้านวิทยาศาสตร์

เดี๋ยวนี้การค้นหาผลงานทางวิชาการง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อน และปัญหาการเข้าถึงผลงานก็ลดลงเพราะกระแสของ Open Access มีมากขึ้น หลายสำนักพิมพ์หันมาให้ความสำคัญกับวารสาร OA ทำให้นักศึกษาและนักวิจัยมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิชาการได้ง่ายขึ้น วันนี้บรรณารักษ์ขอแนะนำอีกหนึ่งแหล่งสารสนเทศฟรี นั่นคือ Scilit ฐานข้อมูล Scilit เป็นการรวมสองคำเข้าด้วยกันคือ  “scientific” และ “literature” ฐานข้อมูลนี้กำเนิดและพัฒนาขึ้นโดย MDPI เป็นสำนักพิมพ์ที่เผยแพร่วารสาร OA มาตั้งแต่ปี 1996 ฐาน Scilit รวบรวมผลงานทางวิชาการประเภท OA สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง เริ่มใช้งาน Scilit ได้ที่ https://app.scilit.net เนื่องจากเป็น Free Database จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าใช้งาน แต่หากต้องการจะสร้าง … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: Document Download Manager in Scopus

ท่านที่ใช้ฐานข้อมูล Scopus เป็นประจำ คงเคยพบปัญหาการ download บทความ ที่บางครั้งต้องการมากกว่า 1 รายการ แต่อยากสั่งให้โหลดครั้งเดียว เพราะคงไม่ว่างพอที่จะมานั่งกดโหลดทีละรายการ Scopus มีฟังก์ชั่นที่ว่านี้อยู่เหมือนกัน แต่ว่าหยุดชะงักไปพักใหญ่ๆ เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ตอนนี้กลับมาใช้งานได้แล้ว แค่มีข้อจำกัดนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น ข้อจำกัดที่ว่าคือการเลือกใช้ Browser หากใช้ IE ก็จำเป็นต้อง update โปรแกรม Java ให้ทันสมัยเสมอ หากใช้ Chrome ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมเล็กน้อย ซึ่งบรรณารักษ์จะขอนำเสนอการใช้งานผ่าน Chrome เมื่อสืบค้นจนได้รายการบทความที่ต้องการแล้ว ให้คลิกที่คำสั่ง download ที่อยู่ด้านบน (รูปที่ 1) ระบบจะขึ้นหน้าต่างใหม่เพื่อให้เราติดตั้งโปรแกรม … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นรูปภาพจาก ScienceDirect (template ใหม่ 2016)

จู่ๆ ฐานข้อมูล ScienceDirect เกิดนึกสนุกเปลี่ยนรูปโฉมตัวเองใหม่เมื่อเดือนพฤษภาคม 2016 มีการปรับตำแหน่งและรูปร่างหน้าตาของเว็บไซต์นิดหน่อย แต่ฟังก์ชั่นการทำงานส่วนใหญ่ยังคงเดิม ท่านผู้ใช้ก็ไม่ต้องตกอกตกใจไป วันนี้บรรณารักษ์จะขอหยิบฟังก์ชั่นการค้นหารูปภาพมาแนะนำ (อีกครั้ง) ฟังก์ชั่นค้นรูปภาพของ ScienceDirect มีมาพักใหญ่ๆ แล้ว บางท่านอาจจะยังไม่ทราบ รูปแบบการค้นหาก็เหมือนกับการค้นผลงานวิจัย เพียงแต่ปรับเปลี่ยนผลการสืบค้นเป็นรูปภาพของไฟล์มัลติมีเดีย ซึ่งจะได้มาจากตัวผลงานวิจัย ดังนั้นจึงอย่าเข้าใจผิดว่า SD จะสร้างฐานข้อมูลรูปภาพให้ค้นหาเหมือน Search Engine ทั่วไป เริ่มต้นการใช้งานให้เลือกการค้นหาเป็นแบบ Advanced Search (1) จากนั้นเลือกที่ฟังก์ชั่นค้นหารูปภาพ Image (2) จะเห็นว่าหน้าตาไม่ได้ต่างไปจากการค้นผลงานวิจัยที่เราคุ้นเคยเลย เราก็กรอกคำค้นที่ต้องการลงไป (3)

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , | Leave a comment

ScienceDirect ปรับโฉมใหม่

ScienceDirect เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ ดูเรียบ โล่ง แต่ดูดีและครบถ้วนเรื่องข้อมูลที่จำเป็นเช่นเดิม มาไล่ดูกันว่าหน้าตาใหม่ของ SD เป็นอย่างไร และอะไรอยู่ตรงไหน A – ฟังก์ชั่นค้นหา สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วด้วยการใส่คำค้นที่ต้องการในช่อง Search all fields หรือระบุ Reference ที่มีเพื่อค้นหาให้เจาะจงยิ่งขึ้น ถ้าต้องการค้นหาแบบละเอียดก็เลือกที่ Advanced search สามารถระบุคำค้นและข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม และเลือกได้ว่าต้องการค้นจากวารสาร หนังสือ หรือค้นหารูปภาพ B – Browse publications by subject เลือกหาวารสาร/หนังสือ ที่มีในฐาน SD แบ่งตาม Subject ซึ่งบางชื่อสามารถมีได้หลาย Subject … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

เราค้นหาผลงานวิจัย (ฉบับเต็ม) จาก Google ได้จริงไหม?

ห้องสมุดสถาบันการศึกษาทั่วโลกต่างบอกรับฐานข้อมูลวิชาการ วารสารหรือหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อที่จะให้บริการแก่นักศึกษา นักวิจัย บางสถาบันมีฐานข้อมูลมากมายให้เลือกใช้ทั้งที่บอกรับและที่เป็น Open Access แต่ก็มากเสียจนผู้ใช้เองเริ่มงงว่าแล้วฉันควรจะใช้ฐานข้อมูลไหนดี ไปๆ มาๆ ก็เลยหันไปพึ่งเพื่อนผู้รอบรู้อย่าง Google เว็บ Search Engine ยอดนิยม เพราะเชื่อว่าค้นใน Google แล้ว หาอะไรก็เจอ จากคำถามที่ว่าเราสามารถค้นหาบทความฉบับเต็มจาก Google ได้ไหม ตอบว่าได้จริงครับ แต่จะโหลดได้ไหมนั้นตอบว่าไม่ทราบ คำตอบนี้สำหรับคำถามที่ว่าด้วยการโหลดบทความฉบับเต็มนะครับ (Full Text) เพราะบางท่านอาจต้องการเพียงแค่ Abstract ก็ได้ ลองมาดูคำเฉลยกันดีกว่าครับ ยกตัวอย่างว่าเราลองค้นหางานวิจัยสักหัวข้อหนึ่งจาก Google ได้ผลลัพธ์ตามรูปที่ 1 จะเห็นว่า Google เลือกที่จะจัดอันดับโดยเอาผลลัพธ์ที่ได้จากฐานข้อมูลวิชาการหรือสำนักพิมพ์ มานำเสนอ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: BMC วารสารเสรีที่น่าใช้

คงเคยได้ยินชื่อวารสารประเภท Open Access กันมาบ้างใช่ไหมครับ มันก็คือวารสารที่เปิดให้ผู้อ่านเข้ามาใช้งานได้อย่างเสรี หรือ download ฟรีนั่นแหละ ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ผู้อ่านก็ไม่ต้องเสียค่าสมาชิกในการบอกรับ แต่คนที่ต้องเสียเงินกลับเป็นผู้เขียนหรือนักวิจัยเจ้าของผลงาน เมื่อเป็นแบบนี้ก็เลยมีบางคนตั้งข้อสังเกตว่าแล้ววารสารพวกนี้มีความน่าเชื่อถือหรืออย่างไร ก็จริงอยู่ครับที่มีบางสำนักพิมพ์ที่ไม่น่าเชื่อถือ แต่หลายสำนักพิมพ์ที่จัดทำวารสาร Open Access ก็มีชื่อเสียงและได้รับการยอมรับในระดับสากล อย่างที่จะมานำเสนอในวันนี้ BioMed Central เป็นฐานข้อมูลวารสารประเภท Open Access ที่ครบอคลุมเนื้อหาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการแพทย์ มีวารสารอยู่ราว ๒๕๐ รายการ ทั้งหมดสามารถเข้าใช้งานได้ฟรี และทั้งหมดเป็นวารสารที่มีการ peer-reviewed จึงเป็นวารสารที่มีความถูกต้องในเนื้อหาและความน่าเชื่อถือในระดับสากล ถามว่าเราจะค้นหาผลงานวิจัยจากวารสารเหล่านี้อย่างไร ถ้าใครนิยมใช้ฐานข้อมูล PubMed ก็น่าจะคุ้นเคยกันดี เพราะเราจะพบเจอวารสารในเครือ BMC อยู่เสมอ แต่ถ้าจะค้นหาจาก … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ตามล่าหา Impact Factors (ตอน ๒)

ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วนะครับ เรากำลังตามล่าหาค่า Impact Factors กันอยู่ คราวก่อนเราเข้าไปดูลิสต์ค่า IF ของปีก่อนๆ จากเว็บของห้องสมุดสตางค์ไปแล้ว ทีนี้จะมาค้นหาของปีล่าสุดกันบ้างล่ะ สิ่งที่มักจะสร้างความสับสนเสมอๆ ก็คือข้อมูลล่าสุดของ IF คือปีไหนกันแน่ ปัจจุบันคือปี 2011 แต่ค่า IF ที่ใช้ล่าสุดจะเป็น IF2010 …ทำไมไม่เป็น ๒๐๑๑ ตามปีปัจจุบันล่ะ ตรงนี้ทำเอาหลายคนมึนงงและถกเถียงกันมามาก อธิบายง่ายๆ ก็คือ ค่า IF นั้นจะคำนวณบทความของวารสารที่ตีพิมพ์ผ่านมาแล้ว ๒ ปี และจำนวนครั้งที่ถูกนำไปอ้างในปีที่ต้องการหาค่า มาคำนวณเพื่อหาค่าเฉลี่ย ดังนั้นสมมุติว่าเราอยากได้ค่า IF ปี ๒๐๑๐ ของวารสาร A เราก็ต้องเอาจำนวนบทความของวารสาร … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: ตามล่าหา Impact Factors

สำหรับนักวิจัยทั้งหลายคงไม่ต้องอธิบายให้มากความกับเรื่องของ ค่า Impact Factors กันนะครับว่ามันคืออะไร แต่ปัญหาที่พบก็คือหลายท่านยังสงสัยอยู่ว่าเราจะไปค้นหาค่า IF ของวารสารต่างๆ นี้ได้จากที่ไหน แล้วตกลงค่า IF ที่เป็นปีล่าสุดคือปีอะไรกันแน่ ทำไมไม่ตรงตามปีปัจจุบันล่ะเนี่ย เผื่อบางท่านอาจจะยังไม่ทราบหรือน้องๆ นักศึกษาที่เป็นนักวิจัยมือใหม่อาจจะยังไม่คุ้นเคย ค่า Impact Factors มันคืออะไรกันแน่นะ? สั้นๆ เลยก็คือ “จำนวนครั้งโดยเฉลี่ยที่บทความในวารสารฉบับนั้นจะได้รับการอ้างอิงในแต่ะปี” ค่า IF จึงเป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการเปรียบเทียบและจัดอันดับวารสาร เพื่อประกอบการพิจารณาบอกรับของห้องสมุด เพื่อให้นักวิจัยได้ใช้คัดเลือกวารสารที่เหมาะสมในการตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ เพื่อใช้ประเมินคุณภาพด้านการวิจัยของสถาบันการศึกษา โดยพิจารณาจากคุณภาพของบทความที่ตีพิมพ์โดยบรรดานักวิจัยภายในสถาบันนั้นๆ ได้อีกด้วย สรุปได้ว่า หากผลงานของเราได้ตีพิมพ์ลงในวารสารที่มีค่า IF สูง หมายความว่าโอกาสที่ผลงานของเราจะได้รับการนำไปอ้างอิงก็จะมีโอกาสสูงตามไปด้วย เมื่อเป็นเช่นนี้วารสารที่มีค่า IF สูงๆ จึงมีหลักเกณฑ์พิจารณารับตีพิมพ์ที่เข้มงวดมากเป็นพิเศษ เพราะค่า … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment