Tag Archives: น้ำท่วม

บรรณารักษ์ชวนอ่าน : หัวใจใหญ่กว่าน้ำ

สุกรี เจริญสุข. (๒๕๕๔). หัวใจใหญ่กว่าน้ำ : บันทึกการป้องกันน้ำของคนสู้ : กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยมหิดล. นครปฐม : วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล. เลขหมู่ : GB1399.5.T5 ห474 2554 “ปีนี้น้ำจะท่วมไหม?” คือคำถามยอดนิยมในตอนนี้ หลังจากเมื่อปีที่แล้วในช่วงเวลาเดียวกัน คนไทยกว่าครึ่งประเทศต้องประสบกับภัยธรรมชาติอันเลวร้าย แม้กระทั่งเมืองหลวงที่แสนจะสุขสบาย น้อยครั้งที่ชาวกรุงเทพจะต้องเผชิญภัยพิบัติทำนองนี้ แต่เมื่อเราได้เห็นถนนหลายสายใจกลางกรุงเทพกลายเป็นคลอง เราจึงได้สำนึกกันว่าปัญหานี้ช่างใกล้ตัวเราเสียเหลือเกิน คนกรุงเทพชอบบ่นกันว่าเดือดร้อนเพราะน้ำท่วม แต่น้ำท่วมของคนเมืองหลวงกับคนต่างจังหวัดนั้นเทียบกันไม่ติด แค่น้ำปริ่มฟุตบาธซึ่งมันสูงกว่าพื้นถนนไม่ถึงฟุตด้วยซ้ำ คนกรุงเทพก็เดือดร้อนถึงขั้นกินไม่ได้นอนไม่หลับ แต่ระดับน้ำที่แตะขอบหลังคาบ้านของชาวบ้านต่างจังหวัด ไม่ใช่แค่ทำเอาพวกเขาไม่ได้กินไม่ได้นอน แต่มันอาจหมายถึงการสูญเสียชีวิตเลยทีเดียว จนเมื่อชาวเมืองหลวงได้ประสบกับตัวเองบ้าง ก็ฟูมฟายจะตายเสียให้ได้ จนบรรณารักษ์อดคิดไม่ได้ว่าคนกรุงเทพนี่ช่างอภิสิทธิ์เสียจริงๆ ขนาดเดือดร้อนก็ยังต้องรู้สึกว่ามันแสนสาหัสมากกว่าคนอื่นๆ … เฮ้อ บรรณารักษ์รู้สึกเอาเองนะครับว่าทำไมคนกรุงเทพต้องแสดงตนว่าเดือดร้อนเสียเต็มประดา … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, บรรณารักษ์ชวนอ่าน, อุทกภัย, แนะนำหนังสือ | Tagged , , , , | Leave a comment

รวม “สายด่วน” รับภัยน้ำท่วม

ลองรวบรวมและแบ่งเป็นประเภทมาให้นะครับ ใครรู้จักเบอร์โทรติดต่อของหน่วยงานใดเพิ่มเติมก็ช่วยกันส่งข่าวมาได้นะครับ ศูนย์ช่วยเหลือน้ำท่วม ติดตามสถานการณ์น้ำ ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม (ศปภ.) สายด่วนรับแจ้ง-เตือนภัย ตลอด 24 ชั่วโมง โทร.1111 กด 5 ศูนย์น้ำท่วม กทม. สอบถาม ขอความช่วยเหลือ (24 ชั่วโมง) โทร.1555 หรือ 0-2248-5115 สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ขอความช่วยเหลือน้ำท่วม โทร.1102 ศูนย์ประสานและติดตามสถานการณ์น้ำ โทร.0-2243-6956 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ 4567892 ฟรีทุกเครือข่าย กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร – ผู้ประสบภัยส่ง SMS ขอความช่วยเหลือร้องทุกข์ได้ที่ฟรีทุกเครือข่าย 4567892 สำนักการระบายน้ำ … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , , | 3 Comments

รับมือน้ำกับ ‘บ้านและสวน’

ถึงตอนนี้คงปฏิเสธไม่ได้แล้วนะครับว่า “กรุงเทพ” กำลังจะหวนคืนสู่อดีต กลับไปเป็น “เวนิซตะวันออก” อีกครั้งหนึ่ง หลายเขตท่วมไปแล้ว แต่หลายเขตยังไม่ถึงฆาต สำหรับบ้านใครที่อยู่ในช่วงเฝ้าระวัง วันนี้ห้องสมุดสตางค์ ขออนุญาตนำเสนอข้อมูลดีๆ จากแหล่งที่เชื่อถือได้มาเล่าสู่กันฟัง เผื่อจะได้ใช้ประโยชน์กันบ้างนะครับ บังเอิญว่าห้องสมุดของเราบอกรับนิตยสาร “บ้านและสวน” ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับการจัดการบ้านและที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ยอมรับกันทั่วประเทศ ในสถานการณ์แบบนี้ บ้านและสวน เขามีบทความดีๆ มาให้ความรู้กับผู้อ่านเพื่อรับมือกับน้ำท่วม… เชิญติดตามอ่านได้เลยครับ ดีดบ้านหนีน้ำท่วมดีไหม? ดีดบ้าน เป็นศัพท์ช่าง หมายถึงการยกบ้านให้สูงขึ้นครับ มีคำแนะนำแบบไหนต้องลองอ่านดู บ้านต้องสูงเท่าไหร่ถึงจะพ้นน้ำท่วม? อืมม อันนี้ก็เป็นปัญหาที่หลายคนคิดไม่ตกครับ ว่าบ้านเราจะรอดมั้ยนะ น้ำไม่ได้เข้ามาทางหน้าบ้านเท่านั้น  หลายคนมัวแต่กั้นจากหน้าบ้าน หารู้ไม่ว่า ‘น้องน้ำ’ เขาแอบเข้ามาทางอื่นได้ด้วย ทำไมส้วมราดไม่ลง? อันนี้ปัญหาใหญ่หลวงเลยครับ ยิ่งช่วงน้ำท่วมนี้ต้องรีบหาทางแก้โดยไวครับ เตรียมตัวรับมือ “สัตว์รัาย” … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , , | Leave a comment

หนังสือเปียกน้ำ…แก้ไขไม่ยาก

น้ำหลากแบบนี้สร้างความเสียหายให้แก้บ้านเรือนและทรัพย์สินมากมายนะครับ สำหรับคนรักหนังสือแล้วคงทำใจยากสักหน่อยหากจะปล่อยให้หนังสือสุดที่รักต้องยับย่นเพราะเปียกน้ำ เรามีวิธีง่ายๆ ที่จะช่วยให้หนังสือกลับสู่สภาพเดิมครับ แต่ก่อนอื่นต้องทำใจก่อนนะครับว่าหนังสือที่เปียกน้ำไปแล้วนั้นไม่มีทางที่จะกลับมาเหมือนเดิมร้อยเปอร์เซนต์ เวลาหนังสือเปียกน้ำท่านทำอย่างไรครับ แน่นอนว่าหลายท่านใช้วิธีเอาผ้าแห้งมาเช็ด บางท่านก็ขัดถูเสียจนปกถลอก บ้างก็ผึ่งแดด ใช้พัดลมเป่า หรือใช้ที่เป่าผมเป่า บางรายยัดใส่ไมโครเวฟซะเลย กะว่าเอาให้แห้งแน่ๆ สุดท้ายหนังสือก็แห้งจริงๆ ครับ แต่สภาพมันจะหงิกงอจนเปิดอ่านไม่ได้อีกเลย แต่เรามีเคล็ดลับง่ายๆ ที่จะช่วยให้หนังสือของท่านกลับมาแห้งและเรียบเหมือนเดิมครับ ขั้นตอนแรก     เราต้องพยายามซับน้ำออกจากหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยใช้ผ้านุ่มๆ เป็นผ้าขนหนูจะดีมาก ค่อยๆ ซับน้ำไปเรื่อยๆ ห้ามถูเด็ดขาดนะครับ ซับไปทีละหน้าๆ จนหมาดที่สุดเท่าที่จะทำได้ ขั้นตอนที่สอง ให้เอาหนังสือเล่มนั้นเข้าไปแช่ในตู้เย็นครับ วางไว้ในชั้นธรรมดาก็พอ ไม่ต้องถึงช่อง freeze ทิ้งเอาไว้ราว ๑ วัน หนังสือก็จะเรียบไม่เป็นรอยย่นครับ ถ้าใช้ผ้าซับแล้วยังรู้สึกว่ามันยังไม่หมาดซักที ให้ใช้กระดาษ A4 … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , | Leave a comment

ทำความรู้จักกับ EM Ball

ช่วงนี้คงจะได้ยินคำว่า EM Ball กันหนาหูหน่อย หรือเวลาดูข่าวก็จะเห็นเขาเอาลูกอะไรกลมๆ โยนลงไปในน้ำ แล้วว่ากันว่ามันจะทำให้น้ำสะอาดขึ้น หลายคนยังสงสัยว่าเจ้าลูกกลมๆ ที่ว่านี้มันคืออะไรกันนะ ลองมาไขปริศนากันดูเถอะ เจ้า EM Ball ย่อมาจาก Effective Microorganism ค้นพบโดย Prof.Dr. Terou Higa มันก็คือก้อนจุลินทรีย์ธรรมชาติสามกลุ่ม คือ จุลินทรีย์ที่ผลิตกรดแลกติก ยีตส์ และจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ทั้งสามกลุ่มจะทำหน้าที่ฟื้นฟูระบบนิเวศ ช่วยย่อยตะกอน กลายเป็นอาหารของสัตว์เล็กๆ ช่วยเพิ่มจุลินทรีย์ชนิดดีในน้ำทำให้เกิดการย่อยสลายที่มากขึ้น และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในน้ำ จุลินทรีย์ชนิดดีที่ว่านี้ไม่ก่อให้เกิดอันตรายกับสิ่งมีชีวิต อีกทั้งยังช่วยรักษาสภาพสมดุลในน้ำ ช่วยเพิ่มปริมาณสิ่งมีชีวิตในน้ำ อธิบายง่ายๆ ก็คือ จุลินทรีย์ใน EM จะทำหน้าที่ย่อยสลายซากตะกอนต่างๆ จนกลายเป็นอาหารให้กับสิ่งมีชีวิตจำพวกปลา กุ้ง … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , , , | 4 Comments

รวม facebook “น้ำท่วม”

ในภาวะวิกฤตเช่นนี้ หลายท่านเลือกที่จะใช้วิธีสื่อสารถึงกันผ่านทาง สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ทั้งการรับข้อมูลข่าวสาร ติดต่อขอความช่วยเหลือ ร่วมกิจกรรมจิตอาสา ฯลฯ นอกเหนือจากสื่อหลัก ปฏิเสธไม่ได้เลยนะครับว่าสื่อสังคมออนไลน์เข้ามามีอิทธิพลกับสังคมไทยอย่างคาดไม่ถึง คงจะจำกันได้ถึงเหตุการณ์ยุ่งๆ ในบ้านเมืองเราเมื่อสองปีที่ผ่านมา สื่อออนไลน์อย่าง facebook twitter กลายเป็นศูนย์รวมและแหล่งกระจายข่าวสารชั้นเลิศชนิดนาทีต่อนาที จนก่อให้เกิดปรากฏการณ์หลากหลายในสังคมไทย ภาวะน้ำท่วมในครั้งนี้ก็เช่นกันครับ หลายหน่วยงานใช้สื่อเหล่านี้มาเป็นสื่อกลางในการดำเนินกิจกรรม โดยเฉพาะ facebook วันนี้เราจึงรวบรวม facebook ที่เกี่ยวข้องกับภาวะน้ำท่วมมานำเสนอไว้ให้ทุกท่านลองเข้าไปชมกันครับ หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานในกำกับของรัฐ ศปภ.ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร @BKK_BEST ศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร  The Thai Red Cross Society กรมทรัพยากรน้ำ คมนาคมรวมใจรายงานน้ำท่วม ที่นี่ … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, ป้องกันน้ำท่วม, social networking | Tagged , , | 5 Comments

รวมวิธีการสร้างแนวป้องกันน้ำด้วย “กระสอบทราย”

ไม่ทราบว่าจะสายเกินไปรึเปล่านะครับ เพราะช่วงนี้ข่าวคราวว่าถุงบรรจุทรายขาดตลาด หรือแม้กระทั่งทรายเองก็ขาดตลาด ตามร้านขายอุปกรณ์ณก่อสร้างทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ต่างไม่มีทรายไว้จำหน่าย ถ้ามีก็ราคาสูงลิบ แต่เอาเป็นว่าสำหรับท่านที่มีทรายอยู่แล้ว หรือจะเป็นวัสดุอื่นๆ ลองอ่านข้อมูลตามนี้ดูก่อน เผื่อยังจะพอทันรื้อเพื่อก่อขึ้นใหม่ให้ถูกต้องกันนะครับ 1.  ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ข้อมูลแรกเป็นของประเทศไทยเราเอง จากหน่วยวิจัยภัยพิบัติทางธรรมชาติ ภาควิชาวิศวกรรมโยธา คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีทริคสำหรับการสร้างแนวป้องกันน้ำไว้น่าสนใจครับ อย่างเช่น ถ้าเป็นไปได้เวลาจะสร้างแนวกั้นน้ำ ควรถอยห่างจากกำแพงพอสมควร และถ้าทำนบสูงเกินกว่า 1 เมตร ควรถางดินออกด้วย เพื่อให้ฐานมีความมั่นคง ฐานของทำนบควารกว้างไม่ต่ำกว่า 3 เท่าของความสูง แต่บางทีที่เราเห็นๆ กัน มักจะมีฐานค่อนข้างแคบ ทำให้ทำนบไม่มั่นคง แผ่นพลาสติกที่ใช้ปูไม่ควรตึงเกินไป ควรวางพอหลวมๆ เพราะแรงดันน้ำจะทำให้แผ่นพลาสติกแนบติดกับกระสอบทรายโดยอัตโนมัติ รายละเอียดนั้นสามารถเข้าไปติดตามได้ในเว็บไซต์ด้านล่างนี้เลยครับ นอกจากเคล็ดลับการใช้ทำทำนบแล้วยังมีคู่มือการใช้กระสอบทรายแถมมาด้วย … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , , , , , | Leave a comment

รวมแผนที่รับสถานการณ์น้ำท่วม (2)

ต่อจากตอนที่แล้ว (ตอนที่ 1) 5. กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (MICT) เป็นแผนที่แสดงสถานการณ์ที่ค่อนข้างสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่ง เป็นความร่วมมือของ กระทรวงไอซีที กับหน่วยงานภาคเอกชนร่วมกันจัดทำขึ้น รายละเอียดของแผนที่อยู่ในระดับที่ดีมาก แสดงพื้นที่ประสบภัยอย่างละเอียด การทำงานใช้ลักษณะเดียวกับ Google Map เราสามารถค้นหาพื้นที่ที่ต้องการได้ด้วยการใส่ชื่อตำบล อำเภอ เขต จังหวัด นอกจากนี้ยังสามารถระบุประเภทของข้อมูลที่ต้องการทราบ เช่น จุดอพยพ ข้อมูลการจราจร เส้นทางที่น้ำท่วม แนวป้องกันน้ำท่วม พื้นที่ประสบภัย เป็นต้น เชื่อว่าแทบทุกคนที่เลือกใช้แผนที่ของกระทรวงไอซีที น่าจะเลือกดูรายละเอียดของพื้นที่ประสบภัย โดยจะใช้สีฟ้าเป็นสัญลักษณ์ ซึ่งตรงนี้น่าจะเป็นจุดเด่นที่สุดของแผนที่ เนื่องจากแสดงผลได้ชัดเจนและค่อนข้างละเอียด ขณะที่การแสดงจุดสำคัญๆ ที่ควรทราบประกอบ เช่น ตำแหน่งที่รถสามารถผ่านได้ หรือผ่านไม่ได้ เส้นทางที่แนะนำ เส้นทางจราจรที่หนาแน่น เหล่านี้ยังไม่ชัดเจนนัก … Continue reading

Posted in น้ำท่วม, อุทกภัย | Tagged , , | Leave a comment