Tag Archives: หนังสือ

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: ตรีแล้วไปไหน

ตรีแล้วไปไหนผู้แต่ง : มาลีCall Number : LB2375 ม511ต 2557 ‘ตรีแล้วไปไหน’ ผลงานชิ้นสำคัญของคุณมาลียา โชติสกุลรัตน์ (นามปากกา มาลี) ผู้อำนวยการฝ่ายส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพชีวิตและความมั่นคง สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy Promotion Agency (depa) ตีพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2557 เป็นหนึ่งในหนังสือแนวแนะนำการศึกษาต่อต่างประเทศและสร้างแรงบันดาลใจที่อยากให้ทุกคนได้อ่าน เพราะอ่านง่าย ได้ทั้งความรู้และความสนุกสนานมากมาย วิธีการเล่าชวนติดตามตลอดทั้งเล่ม หากเริ่มต้นพลิกอ่านตั้งแต่หน้าแรก หน้าถัดไป จนถึงหน้าสุดท้าย จะพบว่านี่ไม่ใช่หนังสือฮาวทูนักเรียนนอกทั่วไปที่มีข้อมูลสถานศึกษายอดฮิตพร้อมคณะที่น่าสนใจ บทความประเภทเรียน MBA ดียังไง หรือเทคนิคเรียนอย่างไรให้ได้เกียรตินิยม ฯลฯ แต่หน้าแรก หน้าถัดไป จนถึงหน้าสุดท้ายของหนังสือเล่มนี้กำลังชักชวนให้ผู้ที่มีความสนใจจะไปศึกษาต่อต่างประเทศได้เห็นความน่าจะเป็นใหม่ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน : ไวรัส ฉบับกระชับ = Viruses : a very

ไวรัส ฉบับกระชับ = Viruses : a very short introductionผู้แต่ง : Dorothy H. Crawfordผู้แปล : นำชัย ชีววิวรรน์Call Number : QW160 ค155ว 2563 ‘Viruses : a very short introduction’ ผลงานชิ้นสำคัญของ คุณ Dorothy H. Crawford อาจารย์ด้านจุลชีววิทยาทางการแพทย์และนักเขียนชื่อดัง ตีพิมพ์ครั้งแรก ค.ศ. 2011 และตีพิมพ์เป็นภาษาไทยครั้งแรกในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน : ลูนช็อตไอเดียบ้า ๆ ที่พลิกชะตาโลก

ลูนช็อต ไอเดียบ้า ๆ ที่พลิกชะตาโลกผู้แต่ง : ซาฟี บาห์คอลล์ผู้แปล : ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ และ อัควีร์ มัธยมจันทร์Call Number : HD53 บ295ล 2564 — ข้อเขียนนี้เป็นความเห็นส่วนบุคคลโดยผู้เขียน —.ผมคิดไปเองหรือเปล่าก็ไม่แน่ใจ ช่วงหลังสหัสวรรษ (ค.ศ. ๒๐๐๐) แนวคิดแบบแปลก ๆ แหวกแนว ถูกหยิบขึ้นมาเป็นประเด็นถกเถียงราวกับว่ามันคือสิ่งมหัศจรรย์ที่เพิ่งค้นพบ ทั้งที่แนวคิดนอกคอกที่ไม่เหมือนคนอื่นมีมาช้านาน พิมพ์เป็นหนังสือขายออกเกร่อไป แต่พอเข้าสู่ยุคสื่อออนไลน์ แนวคิดนอกคอกเหล่านี้ถูกกระจายในวงกว้างมากขึ้น ก็เลยทำให้คนสนใจมากขึ้น (รึเปล่า).แนวคิดนอกคอกที่ว่ามันก็ไม่ได้เพี้ยนหลุดโลก เพียงแต่มันไม่เหมือนแนวคิดปกติทั่วไป หรือไม่เป็นไปตามขนบ ไม่เพียงแค่แนวคิด แต่การตั้งคำถามก็กลายเป็นของใหม่ (ทั้งที่ไม่เห็นจะน่าตื่นเต้นตรงไหน) ใครที่มองมุมอื่น … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: Bookstore Style เสน่ห์ของร้านหนังสือที่ซีกโลกใต้

หนุ่ม หนังสือเดินทาง. (2557). Bookstore style เสน่ห์ของร้านหนังสือที่ซีกโลกใต้. กรุงเทพ : สุขภาพใจ. (187 หน้า) Call No : Z543.986.A92 ห159b 2557   Bookstore Style เสน่ห์ของร้านหนังสือที่ซีกโลกใต้ หนังสือสารคดีที่ว่าด้วยเรื่องร้านหนังสือ หนังสือที่จะพาผู้อ่านไปทำความรู้จักร้านหนังสือในประเทศนิวซีแลนด์และประเทศออสเตรเลีย ผ่านเรื่องราวที่ได้จากการสนทนากับเจ้าของร้านหนังสือที่นั่นด้วยตนเองของ “หนุ่ม หนังสือเดินทาง” นามปากกาของ “อำนาจ รัตนมณี” ผู้แต่งซึ่งถ่ายทอดเสน่ห์ของร้านหนังสือได้อย่างละเอียดลึกซึ้ง เพราะเจ้าตัวก็เป็นคนทำร้านหนังสือเช่นกัน ตลอดทั้งเล่มผู้อ่านจะได้รู้จักร้านหนังสือในเมืองโอ๊คแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ และเมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย มากกว่า 12 ร้าน ซึ่งล้วนแต่เป็นร้านหนังสืออิสระทั้งสิ้น แต่เป็นร้านอิสระที่สามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคง … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: เครื่องขายหนังสืออัตโนมัติ

ยุคนี้ทุกท่านคงคุ้นเคยกันดีกับเครื่องขายของอัตโนมัติ ที่เดี๋ยวนี้มีขายกันทุกอย่างสารพัดตั้งแต่สินค้าชิ้นเล็กๆ ไปจนถึงสินค้าที่นึกไม่ถึงว่าจะมาขายแบบอัตโนมัติอย่างจักรยาน! แล้วเรามักจะคุ้นเคยกันว่าประเทศญี่ปุ่นที่เขาเป็นเจ้าแห่งการขายแบบออโต้ ถ้าใครเคยไปประเทศนี้ก็จะเห็นตู้ขายอะไรต่อมิอะไรเรียงรายเต็มประเทศไทยหมด ไม่เว้นแม้แต่หนังสือ เรื่องของตู้หนังสืออัตโนมัติอาจจะใหม่สำหรับบ้านเรา แต่หลายประเทศเขาก็มีใช้กันมานาน ถามว่าเป็นของใหม่หรือเปล่า ก็ไม่เชิงนะครับ ก็เพียงเปลี่ยนจากสินค้าเป็นหนังสือแทนเท่านั้น แต่หนังสืออาจไม่ใช่ของที่ผู้คนจะซื้อกันบ่อยๆ แค่นั้นเอง ย้อนกลับไปในอดีตความคิดที่จะทำเครื่องขายหนังสืออัตโนมัติมีมานานโขนับร้อยปีแล้วนะครับ เมื่อปี 1822 ที่ประเทศอังกฤษ มีกระทาชายนายหนึ่งพยายามหาวิธีขายหนังสือแบบที่ไม่ต้องใช้คนขาย แต่ก็ไม่เวิร์คเท่าไหร่ จนถึงปี 1937 เครื่องขายหนังสืออัตโนมัติแบบที่ครบวงจรและเป็นที่ยอมรับได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก โดย Penguin Publishing จากการสร้างสรรค์ของ Allen Lane โดยตั้งชื่อว่า Penguincubator (มาจากชื่อสำนักพิมพ์ Penguin กับคำว่า Incubator ที่แปลว่าตู้ฟัก) จำหน่ายหนังสือปกอ่อนของสำนักพิมพ์ที่เป็นวรรณกรรมคลาสสิก สนนราคาในตอนนั้นก็เท่ากับบุหรี่หนึ่งซอง

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: เลโอนาร์โด ดา วินชี วิถีอัจฉริยะ

นิโคลล์, ชาร์ลส์. (2551). เลโอนาร์โด ดา วินชี วิถีอัจฉริยะ. แปลจาก Leonardo da Vinci: The Flights of the Mind. โดย นพมาส แววหงส์. กรุงเทพ : มติชน. เลขหมู่: N6923.L33 น554ล 2551 เราคงตอบได้ยากว่าตกลงแล้ว ดา วินชี เป็นอะไรกันแน่ … จิตรกร นักวิทยาศาสตร์ นักปรัชญา สถาปนิก วิศวกร นักดนตรี ฯลฯ แต่อย่างหนึ่งที่ทุกคนเห็นตรงกันคือเขาเป็น “อัจฉริยะ” … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , , , , | Leave a comment

“หนังสือ” ช่วยเยียวยาจิตใจ

ยังจำโศกนาฏกรรมจากแผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อปี 2011 กันได้ไหมครับ เหตุการณ์ครั้งนั้นคร่าชีวิตผู้คนไปมากมาย ทำลายบ้านเรือนและอาคารอีกหลายแห่ง และหนึ่งในจำนวนนั้นคือห้องสมุด ขณะที่ทุกภาคส่วนต่างระดมให้ความช่วยเหลือในสิ่งที่จำเป็นอย่างเต็มที่ ยังมีคนกลุ่มหนึ่งที่ให้ความช่วยเหลือในส่วนเล็กๆ ที่อาจไม่มีใครคาดถึง ส่วนเล็กๆ ที่อาจดูเหมือนไม่จำเป็นในยามนั้น แต่มันก็ช่วยเยียวยาจิตใจของเด็กๆ ได้พอสมควร บรรณารักษ์ไม่แน่ใจว่าหน่วยงานใดเป็นโต้โผหลักในการนี้ แต่ขอน้อมคาราวะจิตใจคนญี่ปุ่นจริงๆ ว่าเข้มแข็งและเอาใจใส่กับเพื่อนร่วมชาติอย่างน่ายกย่อง ที่จังหวัด Iwate มีรถห้องสมุดเคลื่อนที่นำหนังสือไปตามจุดต่างๆ ทั่วเมืองเพื่อให้บริการ เดิมทีประเทศนี้เขาก็มีกิจกรรมแบบนี้เป็นเรื่องปกติ แต่ในยามไม่ปกติเช่นนี้ การได้อ่านหนังสือดีๆ สักเล่มก็อาจช่วยเยียวยาความเจ็บปวดหรือความเครียดไปได้บ้าง โดยเฉพาะกับเด็ก

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนอ่าน: ๑๐๐ เอกสารสำคัญ สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย

สรรพสาระประวัติศาสตร์ไทย “ความสำคัญของรัชกาลสมเด็จพระนเรศวรมหาราชในประวัติศาสตร์ไทย” ผ่านไปแล้วสำหรับการเปิดให้เข้าชมภาพยนตร์ “ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช” แบบฟรีๆ กันถึง ๑๖๐ โรงทั่วประเทศ คำนวนคร่าวๆ ก็น่ามีคนไทยได้เข้าชมกว่าห้าหมื่นคน เสียงวิพากษ์วิจารณ์จะดีหรือลบนั้นก็สุดแท้แต่ใครจะมอง คิดเสียว่าอย่างน้อยก็พอจะให้คนไทยจำนวนหนึ่งได้สนุกสนานไปกับภาพยนตร์ แต่ที่สะกิดใจผมนิดหน่อยคือการที่หลายคนอาจแยกแยะไม่แตกระหว่างภาพยนตร์เพื่อความบันเทิงกับความเข้าใจเรื่องประวัติศาสตร์

Posted in บรรณารักษ์ชวนอ่าน | Tagged , , , , , , | 1 Comment