Tag Archives: E-Databases

บรรณารักษ์ชวนรู้ : Scilit แหล่งสารสนเทศ (ฟรี) ด้านวิทยาศาสตร์

เดี๋ยวนี้การค้นหาผลงานทางวิชาการง่ายขึ้นกว่าสมัยก่อน และปัญหาการเข้าถึงผลงานก็ลดลงเพราะกระแสของ Open Access มีมากขึ้น หลายสำนักพิมพ์หันมาให้ความสำคัญกับวารสาร OA ทำให้นักศึกษาและนักวิจัยมีโอกาสเข้าถึงผลงานวิชาการได้ง่ายขึ้น วันนี้บรรณารักษ์ขอแนะนำอีกหนึ่งแหล่งสารสนเทศฟรี นั่นคือ Scilit ฐานข้อมูล Scilit เป็นการรวมสองคำเข้าด้วยกันคือ  “scientific” และ “literature” ฐานข้อมูลนี้กำเนิดและพัฒนาขึ้นโดย MDPI เป็นสำนักพิมพ์ที่เผยแพร่วารสาร OA มาตั้งแต่ปี 1996 ฐาน Scilit รวบรวมผลงานทางวิชาการประเภท OA สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่น ๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง เริ่มใช้งาน Scilit ได้ที่ https://app.scilit.net เนื่องจากเป็น Free Database จึงไม่ต้องกังวลเรื่องการเข้าใช้งาน แต่หากต้องการจะสร้าง … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: แหล่งสารสนเทศฟรี (มีอยู่จริง)

หนึ่งในคำถามยอดนิยมสำหรับห้องสมุดคือ พอจะแนะนำฐานข้อมูลแบบใช้ฟรีให้บ้างได้ไหม บรรณารักษ์เจอคำถามนี้บ่อย โดยเฉพาะจากผู้ใช้หลายท่านที่เป็นบุคคลภายนอก ไม่สามารถเข้าใช้บริการฐานข้อมูลที่มหาวิทยาลัยบอกรับได้ คำตอบคือมี ของฟรีมีอยู่จริง แต่ก็มีข้อจำกัดอยู่บ้าง และเหนืออื่นใด ท่านผู้ใช้ต้องพิจารณาเนื้อหาอย่างถี่ถ้วนเสียก่อนนำไปใช้อ้างอิงด้วย ฐานข้อมูลฟรี (Free Databases) ฐานข้อมูลฟรีที่ว่านี้บรรณารักษ์ขอแบ่งออกเป็น 1) สืบค้นฟรี แต่ไม่ได้ fulltext 2) สืบค้นฟรีและได้ Fulltext แบบแรกคือ สืบค้นฟรีแต่ไม่ได้ Fulltext ที่รู้จักกัน เช่น ScienceDirect หรือฐานข้อมูลจากบางสำนักพิมพ์ คือเข้าไปค้นหา Citaton ได้ แต่จะดึง fulltext ออกมาไม่ได้ ต้องเป็นสมาชิกหรือเสียค่าใช้จ่าย แบบที่สองคือ สืบค้นฟรีและได้ Fulltext เช่น PubMed, … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ของดียัง (พอ) มีฟรี

ฐานข้อมูลฟรี (Free Databases) ฐานข้อมูลฟรีที่ว่านี้บรรณารักษ์ขอแบ่งออกเป็น 1) สืบค้นฟรี แต่ไม่ได้ fulltext 2) สืบค้นฟรีและได้ Fulltext แบบแรกคือ สืบค้นฟรีแต่ไม่ได้ Fulltext ที่รู้จักกันมากๆ เช่น ScienceDirect คือเข้าไปค้นหา Reference ได้ แต่จะดึง fulltext ออกมาไม่ได้ ต้องเป็นสมาชิกหรือเสียค่าใช้จ่าย แบบที่สองคือ สืบค้นฟรีและได้ Fulltext เช่น PubMed, SpringerLink, HighWire Press เป็นต้น ฐานเหล่านี้จะเปิดให้ดึง Fulltext ได้บางรายการ ไม่ใช่ทั้งหมด ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละวารสารหรือแต่ละบทความ

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | 1 Comment

ScienceDirect ปรับโฉมใหม่

ScienceDirect เปลี่ยนรูปโฉมใหม่ ดูเรียบ โล่ง แต่ดูดีและครบถ้วนเรื่องข้อมูลที่จำเป็นเช่นเดิม มาไล่ดูกันว่าหน้าตาใหม่ของ SD เป็นอย่างไร และอะไรอยู่ตรงไหน A – ฟังก์ชั่นค้นหา สามารถค้นหาได้อย่างรวดเร็วด้วยการใส่คำค้นที่ต้องการในช่อง Search all fields หรือระบุ Reference ที่มีเพื่อค้นหาให้เจาะจงยิ่งขึ้น ถ้าต้องการค้นหาแบบละเอียดก็เลือกที่ Advanced search สามารถระบุคำค้นและข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติม และเลือกได้ว่าต้องการค้นจากวารสาร หนังสือ หรือค้นหารูปภาพ B – Browse publications by subject เลือกหาวารสาร/หนังสือ ที่มีในฐาน SD แบ่งตาม Subject ซึ่งบางชื่อสามารถมีได้หลาย Subject … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นหาสิทธิบัตรกันอย่างไร (๒)

ต่อเนื่องจากคราวที่แล้วเกี่ยวกับวิธีการค้นหาสิทธิบัตร คราวก่อนเราค้นหาสิทธิบัตรจากฐานข้อมูลออนไลน์ Scopus และ SciFinder ซึ่งวิธีการใช้งานก็ไม่ต่างจากการค้นหาบทความวิชาการทั่วไปเลย ครั้งนี้จะมาลองใช้ฐานข้อมูลที่พัฒนาขึ้นจาก กรมทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งผมคิดว่ามันใช้งานง่ายและสะดวกจริงๆ ครับ วิธีการค้นยังคงคล้ายๆ กับการค้นหาบทความวิชาการจากวารสารอิเล็กทรอนิกส์และฐานข้อมูลอื่นๆ เช่นเดิม การค้นหาของกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นใช้วิธีการค้นหาจากหน่วยงานสิทธิบัตร ของประเทศต่างๆ ได้แก่ องค์การทรัพย์สินทางปัญญาแห่งโลก (WIPO) สำนักงานสิทธิบัตรยุโรป (EPO) สำนักงานสิทธิบัตรสหรัฐอเมริกา (USPTO) จีน (SIPO) ออสเตรเลีย(IP Australia)  ญี่ปุ่น (JPO)  เยอรมนี (DPMA) เกาหลี (KIPO) และประเทศไทย (DIP) ใช้การค้นแบบ one search คือค้นหาเพียงครั้งเดียวจากทุกๆ แหล่ง แต่ถ้าหากต้องการค้นเฉพาะบางแหล่งเราก็สามารถเลือกได้ตามต้องการ … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นหาสิทธิบัตรกันอย่างไร (๑)

สำหรับนักวิจัยแล้ว นอกเหนือจากการค้าหาบทความทางวิชาการจากวารสารต่างๆ แล้ว บ่อยครั้งที่มักจะพบว่านักวิจัยต้องการข้อมูลจากสิทธิบัตรมาประกอบด้วย ซึ่งหลายท่านเป็นกังวลว่าจะหาได้ยากไหม? จะต้องเสียค่าใช้จ่ายไหม? เขาจะอนุญาติให้ดูไหม? ซึ่งจริงๆ แล้วการค้นหาสิทธิบัตรนั้นไม่ได้ยากเลยครับ วิธีการก็คล้ายๆ กับการค้นหาบทความจากวารสารหรือฐานข้อมูลนั่นแหละครับ ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับตำว่า สิทธิบัตร (Patent) กันเสียก่อน กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้ให้คำจำกัดความของสิทธิบัตรไว้ว่า “หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์ (Invention) หรือ การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Product Design) ที่มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนด เป็นสิทธิพิเศษ ที่ให้ผู้ประดิษฐ์คิดค้นหรือผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ มีสิทธิที่จะผลิตสินค้า จำหน่ายสินค้าแต่เพียงผู้เดียว ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง” สำหรับขั้นตอนการจดสิทธิบัตรนั้นค่อนข้างจะซับซ้อนเล็กน้อย เนื่องจากเป็นเอกสารสำคัญที่จำเป็นต้องผ่านการตรวจสอบหลายขั้นตอน ท่านที่สนใจสามารถเข้าไปหาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ของ กรมทรัพย์สินทางปัญญา ได้นะครับ (www.ipthailand.go.th) ทีนี้มาถึงวิธีการค้นหาสิทธิบัตรกันบ้าง ที่ผมบอกไปว่ามันก็คล้ายๆ กับการหา paper จากวารสารหรือฐานข้อมูล … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : โหลดทีเดียวเป็นสิบกับ ScienceDirect (ตอนสอง)

อ่านบทความต่อเนื่องได้ที่ โหลดทีเดียวเป็นสิบกับ ScienceDirect (ตอนแรก) ต่อเนื่องจากตอนที่แล้วนะครับเกี่ยวกับการ download บทความจาก ScienceDirect พร้อมๆ กันหลายบทความ คราวที่แล้วนั้นเล่าถึงเครื่องที่มีโปรแกรม Java ไว้อยู่แล้วนะครับ แต่ถ้าเกิดเครื่องไหนไม่มีเจ้า Java ตัวนี้ล่ะก็ ต้องออกแรงกันนิดหน่อยล่ะครับ สมมติว่ากำลัง search หา paper อย่างเมามัน แล้วกำลังจะโหลดมาอ่านซักโหลนึง พอคลิกคำสั่ง Download multiple PDFs ปุ๊บ คอมพิวเตอร์เจ้ากรรมก็ขึ้นหน้าต่างหน้าตาตามรูปที่ 1 ขึ้นมา บอกเราว่า เครื่องของเราไม่มีโปรแกรม Java จึงไม่สามารถโหลดได้ทีละโหลอย่างที่ต้องการ หากจะใช้งานก็ให้ download เสีย แต่ถ้าถอดใจก็ Close Window … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้ : โหลดทีเดียวเป็นสิบกับ ScienceDirect (ตอนแรก)

วันนี้จะมาว่ากันถึงการ download บทความฉบับเต็มจากฐานข้อมูลยอดนิยมอย่าง ScienceDirect กัน ขั้นตอนการสืบค้นนั้นขอข้ามไปนะครับ เพราะเชื่อว่าทุกท่านคงคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นมือใหม่ก็โปรดติดตาม blog นี้ต่อไปนะครับ ไว้จะนำวิธีการ search มาเล่าสู่กันฟังอีกซักรอบ การ download บทความใน SD นั้น ให้ท่านสังเกตดูไอคอนหน้า Reference ก่อนนะครับ ว่าถ้าเป็นสีเขียวคือเปิดอ่านได้ฟรีๆ ถ้าเป็นสีขาวก็จะได้อ่านแค่ abstract บทความที่สามารถเปิดอ่านได้นั้นจะมีไอคอนรูป PDF อยู่ด้านล่าง เราก็คลิกที่ไอคอนตัวนี้ ระบบก็จะทำการโหลดบทความนั้นออกมาในรูปแบบไฟล์ PDF เท่านี้ก็เรียบร้อยครับ ทีนี้บางท่านเกิดอยากได้บทความหลายเรื่อง คือพอค้นดูแล้วก็พบว่าอันนี้ก็ใช่ อันนี้ก็น่าสน อันนี้ยิ่งน่าอ่าน เยอะแยะไปหมดเลย แต่ถ้ามานั่งจิ้มโหลดทีละเรื่องๆ เสียเวลาแหง มันจะมีวิธีไหนมั้ยที่สามารถโหลดได้พร้อมๆ กันหลายบทความ? … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , , | 1 Comment