Tag Archives: SCOPUS

บรรณารักษ์ชวนรู้ : ค้นหาวารสารจาก Scopus

ช่วงปี 2565/2022 ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศต้องเผชิญกับความผันผวนหลายด้าน จนส่งผลกระทบถึงการให้บริการ โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณที่กระเทือนถึงการบอกรับฐานข้อมูลวิชาการและวารสารอิเล็กทรอนิกส์หลายรายการ หนึ่งในนั้นคือฐานข้อมูล Web of Science ที่นอกจากจะเป็นแหล่งค้นหาผลงานวิจัยแล้ว ยังใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ แต่โชคยังดีที่หลายสถาบันยังคงบอกรับฐานข้อมูล Scopus ของค่าย Elsevier ทั้งสองฐานมีข้อเหมือนและข้อต่างกันพอสมควร แต่ในสถานการณ์เช่นนี้ก็ต้องบอกว่ายังมี Scopus ให้ใช้ก็นับว่าดีแล้ว นอกจากจะใช้ค้นงานวิจัยแล้ว เรายังใช้ทั้งสองฐานเพื่อค้นหาวารสารวิชาการ เนื่องจากมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการส่งผลงานวิจัยหรือการขอตำแหน่งวิชาการว่าจะต้องเผยแพร่ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ วันนี้บรรณารักษ์จึงขอทบทวนวิธีการค้นหาวารสารจากฐานข้อมูล Scopus กันสักหน่อย สำหรับชาวมหิดลสามารถเข้าใช้งาน Scopus ผ่านระบบ EZproxy ด้วย Mahidol Internet Account ที่ http://www.scopus.com หรือเข้าผ่านเว็บไซต์ห้องสมุดสตางค์ มงคลสุข ที่หน้าจอแรกของ Scopus … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้, Uncategorized | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: ค้นหาสิทธิบัตรด้วย Scopus

ฐานข้อมูล Scopus เป็นหนึ่งในฐานข้อมูลยอดนิยมสำหรับการค้นหาข้อมูลผลงานวิจัย ครอบคลุมทุกสาขาวิชา จากวารสารวิชาการจำนวนหลายพันรายการ แต่นอกเหนือจากผลงานวิจัยแล้ว Scopus ยังใช้ค้นหาสิทธิบัตร (Patent) ได้ด้วย นอกจากงานวิจัยแล้ว สิทธิบัตร เป็นส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญในการค้นคว้าและพัฒนานวัตกรรม การค้นหาสิทธิบัตรมีความใกล้เคียงกับการค้นหาผลงานวิจัย สำหรับ Scopus วิธีการค้นหาใช้ Platform เดียวกัน โดยการใช้คำสำคัญ (keyword) ค้นหา (รูปที่ 1) รูปที่ 1 จากตัวอย่างพบว่าพบงานวิจัย 298 รายการ เมื่อต้องการค้นหาเฉพาะสิทธิบัตร ให้เลือกที่เมนูด้านบน View Patent Results (A) ซึ่งสังเกตได้ว่าจำนวนผลลัพธ์จะแตกต่างจากจำนวนงานวิจัย อาจจะมากกว่าหรือน้อยกว่า หรือบางครั้งอาจจะไม่พบผลงานวิจัย แต่ค้นพบว่ามีสิทธิบัตร

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: Document Download Manager in Scopus

ท่านที่ใช้ฐานข้อมูล Scopus เป็นประจำ คงเคยพบปัญหาการ download บทความ ที่บางครั้งต้องการมากกว่า 1 รายการ แต่อยากสั่งให้โหลดครั้งเดียว เพราะคงไม่ว่างพอที่จะมานั่งกดโหลดทีละรายการ Scopus มีฟังก์ชั่นที่ว่านี้อยู่เหมือนกัน แต่ว่าหยุดชะงักไปพักใหญ่ๆ เนื่องจากปัญหาทางเทคนิค ตอนนี้กลับมาใช้งานได้แล้ว แค่มีข้อจำกัดนิดๆ หน่อยๆ เท่านั้น ข้อจำกัดที่ว่าคือการเลือกใช้ Browser หากใช้ IE ก็จำเป็นต้อง update โปรแกรม Java ให้ทันสมัยเสมอ หากใช้ Chrome ก็ต้องติดตั้งโปรแกรมเสริมเล็กน้อย ซึ่งบรรณารักษ์จะขอนำเสนอการใช้งานผ่าน Chrome เมื่อสืบค้นจนได้รายการบทความที่ต้องการแล้ว ให้คลิกที่คำสั่ง download ที่อยู่ด้านบน (รูปที่ 1) ระบบจะขึ้นหน้าต่างใหม่เพื่อให้เราติดตั้งโปรแกรม … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , | Leave a comment

บรรณารักษ์ชวนรู้: การใช้งาน Scopus ที่บางคนยังเข้าใจผิด

มีผู้ใช้มือใหม่หลายท่านที่แวะเวียนเข้ามาถามถึงการใช้งานฐานข้อมูล Scopus โดยเฉพาะเวลาที่จะ download บทความ ว่าทำไมไม่เห็นมีตรงไหนให้คลิกโหลดเลย หรือไม่ก็ ทำไมไม่เห็นจะโหลดได้เลยล่ะ หลายท่านอารมณ์เสียจนพาลจะเลิกใช้ ถ้าอย่างนั้นเราลองมาทำความรู้จักกับ Scopus กันซักหน่อยเป็นไรครับ เมื่อแรกใช้ท่านอาจจะงงๆ ว่าทำไมมันช่างดูเหมือนกับ ScienceDirect เหลือเกิน แค่เปลี่ยนสีสันเท่านั้น ก็เป็นเพราะว่า Scopus เป็นอีกหนึ่งผลงานของ Elsevier นั่นเอง แพลทฟอร์มต่างๆ จึงดูเหมือน SD อย่างช่วยไม่ได้ แม้ว่าทั้งสองฐานจะเป็นพี่น้องกัน แต่กลับทำหน้าที่ต่างกันและคนน้องอย่าง Scopus ดูจะอ้วนท้วนมากกว่าด้วย ScienceDirect นั้นเป็นฐานข้อมูลที่รวบรวมผลงานที่ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Elsevier การค้นหาซึ่งจะขุดคุ้ยหาจากสิ่งพิมพ์ของ Elsevier เท่านั้น เวลาเจอบทความที่เป็น full text จึงสามารถโหลดมาได้อย่างง่ายดาย … Continue reading

Posted in บรรณารักษ์ชวนรู้ | Tagged , , , , , , , | Leave a comment

วารสารไทยที่อยู่ในฐานข้อมูล ISI Web of Science และ Scopus

ปัจจุบันมีวารสารที่ผลิตในประเทศไทยจำนวนมาก ได้ทยอยเข้าไปปรากฎอยู่ในฐานข้อมูล ISI Web of Science และ Scopus ซึ่งถือว่าเป็นฐานข้อมูลที่มีความสำคัญต่อวงการวารสารวิชาการระดับนานาชาติ ดังมีรายชื่อต่อไปนี้ รายชื่อวารสารไทย ที่ปรากฏในฐานข้อมูล ISI Web of Knowledge : Web of Science – Science Citation Expanded ASIAN BIOMEDICINE (เริ่มตั้งแต่ April 2008 มีค่า Impact Factor = 0.333) ASIAN PACIFIC JOURNAL OF ALLERGY AND … Continue reading

Posted in วารสารวิชาการ | Tagged , | 9 Comments

การประเมินคุณภาพวารสารด้วย SJR และ SNIP

ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier มีดัชนีชี้วัดตัวใหม่สำหรับประเมินคุณภาพวารสาร (Journal metrics) ที่เรียกว่า SJR และ SNIP ซึ่งใช้บริการได้จากเว็บไซต์ http://www.scopus.com และเว็บไซต์ http://www.journalmetrics.com Scopus เห็นว่าการประเมินคุณภาพวารสาร ไม่ควรใช้ตัวชี้วัดแบบเดียว เพราะจะไม่ครอบคลุม และไม่ควรใช้เฉพาะค่า Impact Factor (ซึ่งเป็นดัชนีที่มีอิทธิพลต่อวงการวารสารมายาวนานเกือบ 50 ปี) ของบริษัทคู่แข่ง Thomson Reuters โดยจัดทำวิดีโอเผยแพร่ใน YouTube เรื่อง Impact Factor – Only one dimension และเรื่อง Calculation of … Continue reading

Posted in E-Databases, Uncategorized | Tagged , , | Leave a comment

SCIMAGO Institutions Rankings (SIR)

7 ตุลาคม 2552 สำหรับคนที่ชอบเรื่อง Rankings โดยเฉพาะ … ขณะนี้ SCImago Research Group ซึ่งเคยทำ SCImago Journal & Country Ranking (SJR) โดยอาศัยข้อมูลจาก ฐานข้อมูล Scopus ของบริษัท Elsevier ได้ออก product ใหม่ล่าสุด มีชื่อว่า SCIMAGO Institutions Rankings (SIR) มีชื่อมหาวิทยาลัยมหิดล อยู่ใน list อย่างแน่นอน แต่ตลกดีที่เขียนชื่อ Institutions ของประเทศไทย ดูแปลกๆ เช่น … Continue reading

Posted in University Rankings | Tagged , , | Leave a comment

Scopus Journal Analyzer

แนะนำ feature ใหม่สดๆ ร้อนๆ ของ ฐานข้อมูล Scopus ที่มีชื่อว่า Journal Analyzer ที่เพิ่งจะ released เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2552 นี้เอง Journal Analyzer จะช่วยในการวิเคราะห์และประเมินคุณภาพของวารสารทางวิชาการ (ที่มีจำนวนกว่า 15,000 ชื่อจาก 4,000 สำนักพิมพ์ ในฐานข้อมูล Scopus) หลักการคือ ให้เลือกรายชื่อวารสารที่ต้องการจะวิเคราะห์ ได้ตั้งแต่ 1-10 ชื่อ … จากนั้น ฐานข้อมูลจะนำจำนวนผลการอ้างอิง (total citations) และจำนวนบทความที่ตีพิมพ์ (articles published) … Continue reading

Posted in ฐานข้อมูล | Tagged , , | Leave a comment