หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book) หมายถึงหนังสือที่ผลิตขึ้นมาในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในการอ่าน อาจเป็นการเปลี่ยนรูปแบบจากตัวเล่มมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ภายหลัง หรืออาจสร้างมาเป็นอิเล็กทรอนิกส์ตั้งแต่แรกเลยก็ได้ ที่เราเรียกว่า “Born-Digital” นั่นเอง ลักษณะ file formats ของหนังสือ e-Book มีหลายรูปแบบ แล้วแต่ค่าย แล้วแต่ยี่ห้อ มีตั้งแต่ file types ที่ไม่เกี่ยงอุปกรณ์ในการอ่าน เช่น .txt, .htm/.html, .doc/.docx, .rtf, .pdf, .ps, .odf, .odt, epub ไปจนถึง file types เฉพาะ เช่น .lit, .chm (ใช่้กับ Microsoft reader), และ .azw (ใช้กับ Amazon Kindle) เป็นต้น

สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย ได้ให้คำจำกัดความของคำว่า e-Book ไว้ดังนี้

An electronic book (also e-book, ebook, digital book)
is a text and image-based publication in digital form produced on, published by, and readable on computers or other digital devices.

สำหรับอุปกรณ์ในการอ่าน e-Books จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ PC ทั่วไปหรือเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebooks ในลักษณะ Web Reader ก็ได้ แต่ในปัจจุบันบริษัท ร้านหนังสือ และสำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ มักจะสร้างระบบ Online Bookstore ของตัวเองขึ้นมา แล้วขายเครื่องอ่าน e-book reader โดยเฉพาะ (ซึ่งจะทำให้การอ่านมีประสิทธิภาพมากขึ้น และไม่ปวดตาเวลาอ่านหน้าจอ) เช่น Barnes & Noble Nook, Sony Reader, Amazon Kindle และยังเปิดทางเลือกให้อ่านโดยใช้อุปกรณ์ขนาดพกพาชนิดต่างๆ เช่น โทรศัพท์ smartphones และ tablets สารพัดยี่ห้อ เช่น Apple iPad (iBooks), Samsung Galaxy Tab, Kindle on iPhone/iPad เป็นต้น

และในที่สุด เมื่อเดือนธันวาคม 2553 Google ก็เริ่มลงมาเล่นในสนามการค้า e-Book นี้ด้วย โดยการเปิด Google eBookstore เพื่อจำหน่ายหนังสือออนไลน์ ท้าทาย Amazon มีเว็บไซต์อยู่ที่ http://books.google.com/ebooks ผู้อ่านสามารถ download หนังสือไปอ่านได้หลาย platforms ไม่ว่าจะเป็น Android, iPhone, iPad, iPodTouch, Nook, Sony reader หรือคอมพิวเตอร์ PC และ Notebook แบบธรรมดาโดยใช้ Google eBooks web reader

และแน่นอนว่า Microsoft เองก็ไม่รอช้า ปล่อยร้านจำหน่ายหนังสือ พร้อมโปรแกรมอ่านที่มีชื่อว่า Microsoft Reader ออกมาแล้ว อยู่ที่เว็บไซต์ http://www.microsoft.com/READER ส่วนในบ้านเราก็มี True Digital Bookstore ที่เพิ่งเปิดตัว e-book store แห่งแรกในประเทศไทยไปเมื่อเดือนเมษายน 2553 ที่ผ่านมา อยู่ที่เว็บไซต์ http://www.truebookstore.com

หันมาดูวิธีการสร้างหนังสือ e-Books เองบ้าง มีโปรแกรมอยู่หลายชนิด ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในประเทศไทย เช่น I Love Library, Plakat eBook (ปลากัดอีบุ๊ค), Desktop Author หรือโปรแกรมที่สร้างหนังสือและนิตยสารแบบพลิกได้ (Flip Books) เช่น Issuu, Flip Publisher, FlipAlbum, Flip Viewer

นอกจากนี้ ยังมีโปรแกรมอำนวยความสะดวกในการอ่าน ที่ดีขึ้นกว่าการ download เอกสารมาอ่านแบบ .PDF แบบเดิมๆ .. Adobe ได้ออกโปรแกรมใหม่ ที่มีชื่อว่า Adobe Digital Editions เพื่อช่วยในการอ่านและจัดระเบียบเอกสารจำนวนมากๆ สร้างเป็น library ส่วนตัวได้ สามารถ support e-book format ที่เป็นมาตรฐาน ทั้ง .pdf และ .epub

อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาถึงหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ที่เป็นตำราทางวิชาการ ปัจจุบันมีสำนักพิมพ์ชั้นนำในต่างประเทศได้ผลิตมาจำหน่าย และทางห้องสมุดได้จัดซื้อไว้หลายชนิด เช่น Blackwell, Elsevier, Springer, Books@Ovid, ebrary, MyiLibrary, Knovel, NetLibrary ฯลฯ แต่กลับพบว่า เทคโนโลยี e-Books ที่ใช้ ยังไม่ทันสมัยเท่ากับหนังสือทั่วไปหรือนิยายพ็อกเก็ตบุ๊ค ทำให้ยังไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร จากผลงานวิจัยที่สำรวจพฤติกรรมการใช้ e-Books ของนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัย ทั้งในยุโรป อเมริกา และเอเชีย พบความเห็นที่น่าสนใจ ดังนี้

  • The most inhibiting feature of e-books is the difficulty of reading them from the screen.
  • Reading an E-book causes significantly higher eye fatigue than reading a conventional book.
  • Faculty had unsatisfactory experiences owing to the unreliability of access, lack of manipulability, and the steep learning curve of the various interfaces.
  • If libraries make e-books available to their users, they will be used.

แสดงว่า นอกจากเทคโนโลยีไม่ทันสมัยแล้ว ห้องสมุดก็ไม่ช่วยกันส่งเสริมการใช้เท่าที่ควร .. คงต้องติดตามกันต่อไปว่า อนาคตของ e-Books ในสถาบันการศึกษาจะเป็นอย่างไร Google eBookStore, Microsoft eBookStore และ iBooks ของค่าย APPLE จะเข้ามามีบทบาทกันหนังสือตำราวิชาการหรือไม่ จะได้ทำให้การอ่านตำรามีความสนุกสนานมากขึ้นกว่า e-Books แบบเดิมๆ

ส่วนนักศึกษาจะชอบ e-Books หรือ Text books มากกว่ากันนั้น .. ธรรมใดที่ยังไม่เกิด ก็จงปล่อยให้เป็นเรื่องของอนาคตก็แล้วกัน

[ เอกสารประกอบการเสวนา ในงาน We Love Library ที่ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สำนังาน ปปส. เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ]

This entry was posted in E-book and tagged . Bookmark the permalink.

2 Responses to หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)

  1. สวัสดีค่ะ

    หนูกำลังทำ ร้านหนังสือ.นะครับ.com และเห็นว่าบล็อกนี้น่าสนใจมาก ก็เลยติดต่อมาเพื่อขอแลกลิงค์ด้วยนะคะ

    ร้านหนังสือ.นะครับ.com
    http://xn--72c9aa2bzbdr3af0dzl.xn--42c5be9a1di.com
    ร้านหนังสือ.นะครับ.com ร้านหนังสือออนไลน์ที่ปลายนิ้วคุณ

    ขอบคุณมากค่ะ

  2. หนูใช้เมลล์ของคุณพ่อหนูโพสต์นะคะ

    ขอบคุณมากค่ะ

Leave a comment